Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาสภาพและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษา ที่มีความบกพร่องทางสายตาในโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study of state and behaviors in using information technology of eye disable secondary school students at Bangkok School for the Blind
Year (A.D.)
2008
Document Type
Thesis
First Advisor
จินตวีร์ คล้ายสังข์
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
โสตทัศนศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2008.8
Abstract
ศึกษาสภาพการจัดเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนสอนคนตาบอด เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการเรียนและบรรยากาศในการเรียนการสอน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ที่กำลังศึกษาอยู่ จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ซึ่งแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามด้านการจัดสภาพแวดล้อมทั้ง 2 ด้าน คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการเรียน และบรรยากาศในการเรียนการสอน แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนแบบสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ ความจริง ความคิดเห็น ปัญหา สาเหตุ ข้อเสนอแนะ ความรู้สึก และเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แจกแจงความถี่และค่าร้อยละ และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์ทางบวก กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางสายตา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตาม การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการเรียนไม่มีความสัมพันธ์ทางบวก กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสายตานั้น นอกจากปัญหาที่พบโดยทั่วไป คือ การเข้าถึงและคอมพิวเตอร์ มีไม่เพียงพอทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น อีกหนึ่งปัญหาที่พบและมีความสำคัญคือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความใหม่ แต่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากทั้งผู้สอนและผู้เรียนขาดการเรียนรู้ในตัวเทคโนโลยีนั้นๆ ดังนั้นการให้องค์ความรู้กับทั้งผู้สอน และผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสายตาในการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ และโปรแกรมใหม่ที่มีเข้ามารองรับการเรียนการสอนทางสถาบัน หรือโรงเรียนควรจัดให้มีการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือสื่อการเรียนการสอนดังกล่าว เพื่อผู้สอนและผู้เรียนจะได้ใช้งานในห้องเรียนหรือชีวิตประจำวันได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To study (1) the use of information technology at Bangkok School for the Blind (2) relationships between a physical environment and a learning environment toward grade point average (GPA) of eye disable secondary school students (3) relationships between behaviors of using information technology and instructional media toward grade point average (GPA) of eye disable secondary school students. The samples of this research were 68 eye disable secondary school students at Bangkok School for the Blind. There were two research instruments including the questionnaire and the interview. The questionnaire had questions focusing on the topics about the physical environment, the learning environment, and behaviors of using information technology. The interview had questions asking for fact, opinion, and suggestion about the state and behaviors in using information technology of eye disable secondary school students at Bangkok School for the Blind. The research analysis reported frequency, percentage and pearson product moment correlation coefficient. The research findings were summarized as follows: 1. The state of learning environment affects to grade point average (GPA) of eye disable secondary school students at 0.05 level of significance. 2. The behaviors of using instructional media affects to grade point average (GPA) of eye disable secondary school students at 0.05 level of significance. 3. The behaviors of using information technology affects to grade point average (GPA) of eye disable secondary school students at 0.05 level of significance. However, The state of physical environment did not affect to grade point average (GPA) of eye disable secondary school students at level of significance. In the interview, students reported that there was a limitation in the numbers of computers. Also, students were interested in new technologies, but they faced the problem that they did not know how to operate them. The suggestion was made that the training is needed.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สืบเนตร, ณัฐบวร, "การศึกษาสภาพและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษา ที่มีความบกพร่องทางสายตาในโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ" (2008). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 33208.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/33208