Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์เส้นทางสู่ความสำเร็จในวิชาชีพของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

An analysis of paths to career success of female administrators in education institutions under the Office of the Basic Education Commission

Year (A.D.)

2007

Document Type

Thesis

First Advisor

ณัฐนิภา คุปรัตน์

Second Advisor

อวยพร เรืองตระกูล

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

บริหารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2007.89

Abstract

การวิจัยครั้งนีมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เส้นทางสู่ความสำเร็จในวิชาชีพของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในวิชาชีพใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 528 คน เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ส่วนการวิเคราะห์เส้นทางสู่ความสำเร็จในวิชาชีพ ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารสตรีซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีจำนวน 4 กลุ่มปัจจัยคือ ปัจจัยด้านจิตสังคม ปัจจัยด้านภูมิหลัง ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์กร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ โดยมีปัจจัยย่อยที่ส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้บริหารสตรีที่ระดับ .01 จำนวน 7 ปัจจัยได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความฉลาดทางอารมณ์ สถานภาพและบทบาททางสังคมของสตรี ภาวะผู้นำ การสนับสนุนจากผู้ใต้บังคับบัญชา การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง กฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับสตรี และมีปัจจัยย่อยที่ส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จในวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ปัจจัยได้แก่ การได้รับโอกาสในการพัฒนา การสนับสนุนจากครอบครัว การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา 2. เส้นทางสู่ความสำเร็จในวิชาชีพของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ เส้นทางแห่งมรรคมีองค์ 8

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to analyze paths to career success of female administrators in education institutions under the Office of the Basic Education Commission (OBEC). There were 2 sub-purposes; 1) To analyze lifestyles of female administrators in education institutions under the OBEC. 2) To analyze factors affecting career success of female administrators in education institutions under the OBEC. The method for this research was descriptive research. The study was designed to collect both quantitative and qualitative data. To analyze of the factors affecting career success, the data was collected by survey sample group of 528 female educational administrators. The research instrument was a questionnaire. The analyses of data used multiple regression analysis, of the SPSS program. To analyze the paths to career success, data were collected by interviews of 5 female educational administrators. The research instrument was a semi-structured interview about the lifestyles and factors supporting the career success of female administrators. Data were analyzed by content analysis. The research findings were summarized as follows: 1. The positive factors affecting career success of female administrators in education institutions under the OBEC were 4 group of factors as follows: psychosocial factors, personal background factors, organizational support factors and organizational external environment factors. There were 7 sub-factors which had positive significant factors affecting career success of female administrators: achievement motive, emotional intelligent, social status and role of female, leadership, supported by subordinate, supported by college and others, policy and law concerning females at the 0.01 level. There were 3 sub-factors which had positive significant factors affecting career success of female administrators: opportunity for development oneself, supported by family and supported by superior at the 0.05 level. 2. The path of female administrators in education institutions under the OBEC was the noble eightfold path.

Share

COinS