Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of experiential and cooperative learning instructional model through empathetic parent-teacher collaboration for enhancing preschool children’s life skills
Year (A.D.)
2007
Document Type
Thesis
First Advisor
อรชา ตุลานันท์
Second Advisor
น้อมศรี เคท
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
การศึกษาปฐมวัย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2007.60
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจ การแก้ปัญหา การสื่อสารและการจัดการกับอารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลผลการวิจัยพบว่า1. รูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย มีองค์ประกอบสำคัญ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครู ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล รูปแบบมีกระบวนการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครู 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างกลุ่มของผู้ปกครองและครู 2) การปฏิบัติการของผู้ปกครองและครู 3) การประเมินผลการปฏิบัติ และรูปแบบมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมการก่อนรับประสบการณ์ 2) การได้รับประสบการณ์จริง เป็นการปฏิบัติของผู้เรียนด้วยการสืบสอบแบบกลุ่ม 3) การทบทวนความคิด 4) การสรุปข้อความรู้ 5) การนำไปปฏิบัติ2. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า2.1 นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มทดลอง มีทักษะชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ 0.052.2 นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มทดลอง หลังการทดลองมีทักษะชีวิตสูงกว่านักเรียนที่อยู่ในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were; 1) to develop the experiential and cooperative learning instructional model through empathetic parent-teacher collaboration for enhancing preschool children’s life skills2) to study the effects of using the experiential and cooperative learning instructional model through empathetic parent-teacher collaboration for enhancing preschool children’s life skills. Four preschool children’s life skills selected were 1) problem solving, 2) decision making, 3) effective communication, and 4) coping with emotion.The results of this research were as follows:1. The instructional model consisted of 6 elements: principles, objectives, empathetic parent-teacher collaboration processes, instructional processes, and evaluation. The empathetic parent-teacher collaboration processes involved 3 steps: 1) The forming stage 2) The performing stage 3) The adjourning stage. The instructional processes involved 5 steps: 1) Planning and providing 2) Experiencing 3) Reviewing 4) Concluding 5) Applying2. The results of testing the model werea) The posttest average scores of life skills of the preschool children in experimental group were higher than those one of their pre-test at the .05 level of significance.b) The posttest average scores of life skills of the preschool children in experimental group were higher than those one of the preschool children in controlled group at the .05 level of significance.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พันธุ์ศักดิ์, ชบา, "การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย" (2007). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 33056.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/33056