Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการสอนภาษาไทยด้วยกลวิธีสืบสอบที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of Thai language teaching using inquiry strategies on critical thinking and critical reading abilities of mathayom suksa six students

Year (A.D.)

2006

Document Type

Thesis

First Advisor

สร้อยสน สกลรักษ์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การสอนภาษาไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2006.72

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธีสืบสอบที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และ เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธีสืบสอบกับนักเรียนทีได้รับการจัดการ เรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองซึ่งจัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธีสืบสอบ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งจัดการเรียน การสอนแบบปกติ จำนวน 30 คน ผู้วิจัยดำเนินการจัดการเรียนการสอนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเอง ใช้เวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวมทั้งสิ้น 20 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบความสามารถในการอ่านอย่างมี วิจารณญาณ และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธีสืบสอบ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต (X-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการ จัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธีสืบสอบมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธี สืบสอบ มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียน การสอนแบบวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอน ด้วยกลวิธีสืบสอบมีความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูง กว่าก่อนการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกลวิธีสืบสอบมี ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอน แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to study effects of Thai language teaching using linquiry strategies on critical thinking and critical reading abilities and to compare critical thinking and critical reading abilities between the group learning with the liquiry strategies and the group learning with conventional teaching method. The subjects were 60 mathayomsuksa six students of Suphanburi Sports School in Suphanburi. They were divided into two groups. The duration of experiment was ten weeks, two periods per week and twenty periods in total. The instruments for data collecting were critical thinking test and critical reading test. The experimental instruments were lesson plan using inquiry strategies and ordinary lesson plan. The collected data were analyzed by arithmetic means, standard deviation growth score and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. Students learning with the inquiry strategies had critical thinking abilities higher than before experiment at .05 level of significance. 2. Students learning with the inquiry strategies had critical thinking abilities higher than students learning with conventional method at .05 level of significance. 3. Students learning with the inquiry strategies had critical reading abilities higher than before experiment at .05 level of significance. 4. Students learning with the inquiry strategies had critical reading abilities higher than students learning with conventional method at .05 level of significance.

Share

COinS