Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
พฤติกรรมการลงทุนด้านนวัตกรรมและผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ ของกิจการในอุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Innovation investment behavior and economic performance of the vegetable and fruit processing industry in Thailand
Year (A.D.)
2004
Document Type
Thesis
First Advisor
วรัญญา ภัทรสุข
Faculty/College
Faculty of Economics (คณะเศรษฐศาสตร์)
Degree Name
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เศรษฐศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2004.1672
Abstract
ศึกษาพฤติกรรมการลงทุนด้านนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการลงทุนด้านนวัตกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ ของกิจการและการลงทุนด้านนวัตกรรม และบทบาทของภาครัฐที่มีต่อการสนับสนุนการลงทุนด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรม วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive method) แบ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ศึกษาพฤติกรรมการลงทุนด้านนวัตกรรมและผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของกิจการ และข้อมูลทุติยภูมิศึกษาโครงสร้างอุตสาหกรรม และบทบาทของรัฐบาลไทยในการสนับสนุนการลงทุนด้านนวัตกรรม ศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2544-2546 ผลการศึกษาพบว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูป เป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ พบในกิจการที่ผลิตสินค้าสำเร็จรูป เช่นผักผลไม้กระป๋องและน้ำผลไม้ ลักษณะเป็นแบบผู้ขายน้อยรา (Oligopoly) นวัตกรรมที่พบจึงอยู่ในรูปของการทำสินค้าให้มีความแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆ มากกว่าที่จะเป็นนวัตกรรมเพื่อการลดต้นทุน โดยที่ผู้นำตลาดมีความเสี่ยงจากการลงทุนที่ต่ำกว่า ฝ่ายวิจัยและพัฒนาค้นคว้าทดลองเพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้น เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาไม่สูงมากนักเนื่องจากกระบวนการทดลองต่างๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ส่วนนวัตกรรมด้านกระบวนการผลิตจะเกิดตามมาเพื่อให้มีความ เหมาะสมกับสินค้าใหม่ โดยมีทั้งการติดตั้งเครื่องจักรใหม่และปรับปรุงกระบวนการผลิตเดิม โดยใช้บริการจากชัพพลายเออร์ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Supplier dominated) นวัตกรรมด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้คือ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ พบในกิจการขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพด้านเงินทุน ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แหล่งที่มาของนวัตกรรมเหล่านี้จะมาจากภายนอกองค์กรเป็นหลัก เนื่องจากประหยัดเวลาและต้นทุน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนด้านนวัตกรรมและผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ พบว่าค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนามีความสัมพันธ์กับยอดขายและการจ้างงาน อย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นในกิจการขนาดใหญ่และกิจการต่างชาติ ข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูปได้แก่ ภาครัฐควรจัดหาข้อมูลด้านการตลาดและเทคโนโลยี และเน้นให้การอุดหนุนด้านเงินทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนากับกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง และควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยี กับกิจการร่วมทุนและกิจการต่างชาติ ทั้งนี้เพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To study innovation investment behavior in Thai vegetable and fruit processing industry. The purpose of innovation investment, the relationship between innovation investment and economic performance, and the role of Thai government on supporting innovation in the industry. The analysis is based on descriptive methodology, covering the period of 2001-1003 and using both primary and secondary data. Our findings indicate that most producers in Thai vegetable and fruit processing industry invest in product innovation, such as canned vegetable and fruit and fruit juices. Because of oligopolistic competition, the characteristic of innovation is product differentiation instead of cost reducing. Research and development department experiments new product in order to meet customers' demand. Process innovation comes later in order to support new or improved product and reduce production cost and usually comes from technical suppliers. Large and medium firms also invest in other innovations such as packaging, management and information technology. Sources of innovation come from supplies because firms can save both money and time R&D expenditure is not high because experiment in R&D labs are supported by suppliers, using mostly simple technology. The relationship between R&D investment and economic performance is significantly in the case of sales and employment in all firms except large and foreign firms. Suggestions derived from this study are (1) Thai government should support technology and market information and provide subside by small and medium firms in order to invest in innovation, and (2) the government should convince the joint ventures and foreign firms to participate in science and technology activities in order to increase technology transfer from aboard.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รุ้งสีทอง, รพีพร, "พฤติกรรมการลงทุนด้านนวัตกรรมและผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ ของกิจการในอุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูปในประเทศไทย" (2004). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 32555.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/32555