Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
โครงสร้างเงินทุนธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The Capital structure of SMEs in Thailand
Year (A.D.)
2003
Document Type
Thesis
First Advisor
โสตถิธร มัลลิกะมาส
Faculty/College
Faculty of Economics (คณะเศรษฐศาสตร์)
Degree Name
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เศรษฐศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2003.1592
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดระดับโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของธุรกิจ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวเข้าสู่ระดับโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของธุรกิจ และ 3) ศึกษาถึงข้อจำกัดในการเข้าสู่แหล่งเงินทุนภายนอก จากการกู้ยืมเงินธนาคารของธุรกิจขนาดเล็ก โดยได้ใช้ข้อมูลจากงบการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในภาคอุตสาหกรรม จำนวนทั้งสิ้น 200 บริษัท ในช่วงปี พ.ศ.2541-2544 จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ และอาศัยวิธี Fixed Effects Panel Data ในการประมาณการ ผลการศึกษาปัจจัยกำหนดโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของธุรกิจนั้น พบว่า ปัจจัยความแปรปรวนของรายได้ และความสามารถในการทำกำไร มีความสัมพันธ์เชิงลบกับโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ และปัจจัยสินทรัพย์ที่มีตัวตน โอกาสในการเติบโตของธุรกิจ และขนาดของธุรกิจนั้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ โครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ปัจจัยผลประโยชน์จากภาษีในส่วนที่ไม่ใช่หนี้สินนัน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ ในส่วนของปัจจัยกำหนดความเร็วในการปรับตัวนั้น พบว่า โครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ SMEs นั้นไม่ได้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดเวลา โดยได้มีการเบี่ยงเบนออกจากระดับที่เหมาะสมมากพอสมควร ทำให้ธุรกิจที่มีโอกาสในการเติบโตที่สูงกว่าและธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่านั้น จะมีการปรับตัวที่เร็วกว่าด้วย เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้มีต้นทุนในการหาแหล่งเงินทุนภายนอกที่ตํ่ากว่านั่นเอง และในส่วนของข้อจำกัดในการเข้าสู่แหล่งเงินทุนภายนอกนั้น พบว่า ธุรกิจที่มีขนาดเล็กกว่ามีความยากลำบากในการขอกู้ยืมเงินจากธนาคารมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งจากผลการศึกษานี้ ได้ยืนยันการเกิดปัญหา Asymmetric Information ในธุรกิจขนาดเล็กมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this study are 1) to study the determinants or optimal capital structure of firms 2) to study the determinants of speed of adjustment 3) to study financial constraint of small firms on bank debt. The data comes from the financial statement of 200 SMEs in manufacturing sector. In addition we use the Fixed Effects Panel Data estimation method. As the ramification of the determinant of optimal capital structure, we find that income variability and profitability are negatively related to capital structure and find a positive relationship between tangibility, growth opportunity, size and capital structure. But non-debt tax shield is insignificant. In terms of the determinants of speed of adjustment, this study found that SMEs were not in the optimal capital structure at all time, but deviated significantly from the optimal level. Therefore, firms with high growth opportunity and large size would have a positive speed of adjustment because they have lower cost of external source of fund. Moreover, the limitation in accessing source of fund, this study shows that smaller firms have more constraint on bank debt than the larger ones.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปิยะวัฒนะนนท์, กฤษดี, "โครงสร้างเงินทุนธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย" (2003). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 32511.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/32511
ISBN
9741756771