Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าและสิ่งตอบแทน ที่มีต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ต
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of prenotification and incentive on Internet questionnaires response rates
Year (A.D.)
2001
Document Type
Thesis
First Advisor
นิศา ชูโต
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิจัยการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2001.172
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการตอบกลับแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตที่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าต่างกัน ระหว่างการไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าและการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าด้วยการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (E-card) และการให้สิ่งตอบแทนต่างกัน คือ ระหว่างการไม่ให้สิ่งตอบแทนและการให้สิ่งตอบแทนด้วยล็อตเตอรี่เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการขายบริการทางเพศของนักศึกษา โดยการเก็บตัวอย่างจากผู้ใช้บริการเว็บบอร์ดที่ได้แจ้งที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail address) ในกระทู้ต่างๆ ของเว็บไซต์พันธ์ทิพย์ (PANTTP) จำนวน 372 คน การทดลองครั้งนี้ได้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 93 คน กลุ่มที่ 1 ไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าและไม่ให้สิ่งตอบแทน กลุ่มที่ 2 ไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าและให้สิ่งตอบแทน กลุ่มที่ 3 แจ้งให้ทราบล่วงหน้าและไมให้สิ่งตอบแทน กลุ่มที่ 4 แจ้งให้ทราบล่วงหน้าและให้สิ่งตอบแทน โดยแบ่งระยะการตอบกลับ เป็น 3 ระยะ คือ ภายใน 1 วัน 4 วัน และ 10 วัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบค่าไค-สแควร์ (chi-square) และ Multiple Comparison ของ Marascuilo ผลการวิจัย พบว่า 1. อัตราการตอบกลับแบบลอบถามทางอินเทอร์เน็ตของกลุ่มที่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าและไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในระยะการตอบกลับ ภายใน 1 วัน 4 วัน และ 10 วัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อัตราการตอบกลับแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ตฃองกลุ่มที่ให้สิ่งตอบแทนและไม่ให้สิ่งตอบแทนในระยะการตอบกลับ ภายใน 1 วัน 4 วัน และ 10 วัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research is to compare the response rates of internet questionnaires between prenotification and without prenotification by E-card and to compare between incentive and without incentive by lottery. The applied tool is questionnaires about prostitution in academic atmosphere. The subjects are 372 clients of PANTIP website who registered their email addresss in the web board. The experimentation is designed into 4 groups with 93 subjects each. Group 1: without prenotification and incentive; Group 2: without prenotification, but with incentive; Group 3: with prenotification, without incentive; Group 4: with prenotification and incentive. The response time are assigned into 3 periods, within 1 day, 4 days and 10 days consequently. The data on return response rates are analyzed by Chi-square test of homogeneity of proportions and Marcscuilo’ S multiple comparisons. The results of research can be summarized as follows; 1. The internet questionnaires response rate of prenoticification and without prenotification in the period of 1 day, 4 days and 10 days are not significantly different at .05 level. 2. The internet questionnaires response rate of incentive and without incentive in the period of 1 day, 4 days and 10 days are not significantly different at .05 level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รอดพ่วง, จิราพร, "ผลของการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าและสิ่งตอบแทน ที่มีต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถามทางอินเทอร์เน็ต" (2001). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 31997.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/31997