Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกที่มีต่อมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ และความสามารถในการนำเสนอข้อมูลด้วยผังกราฟฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of using the graphic organizer technique on grographic concepts and the presentation of knowledge in graphic organizer forms of mathayom suksa three students at demonstration shcools under the Ministry of University Affairs
Year (A.D.)
2001
Document Type
Thesis
First Advisor
วลัย พานิช
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การสอนสังคมศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2001.101
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้เทคนิคผังกราฟฟิก 2) ศึกษา ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลด้วยผังกราฟฟิกของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคผังกราฟฟิก 3) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้เทคนิคผังกราฟฟิก และ กลุ่มที่เรียนโดยไม่ใช้เทคนิคผังกราฟฟิก กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจำนวน 36 คน เรียนโดยใช้เทคนิคผังกราฟฟิก และ กลุ่มควบคุมจำนวน 36 คน เรียนโดยไม่ใช้เทคนิคผังกราฟฟิกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบวัดมโนทัศน์ทาง ภูมิศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.20-0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป และ 2) แบบวัดความสามารถในการนำเสนอข้อมูลด้วยผังกราฟฟิกที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.70 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.20-0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัชฌิม เลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคผังกราฟฟิกแบบต่าง ๆ มีมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือสูงกว่าร้อยละ 70 2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคผังกราฟฟิกแบบต่างๆ ได้คะแนนความสามารถในการนำเสนอข้อมูลด้วยผังกราฟฟิกสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือสูงกว่าร้อยละ 70 3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคผังกราฟฟิกมีมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยไม่ใช้เทคนิคผังกราฟฟิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this study were 1) to stuc,/ geographic concepts of students were taught by using graphic organizers technique 2) to study presentation of knowledge in graphic organizer forms of students were taught by using graphic organizers technique 3) to compare geographic concepts of Mathayom Suksa three students between the groups learning by using graphic organizers technique and the group learning by non using graphic organizers technique. The sample were two groups of Mathayom Suksa three students of Chulalongkorn University Demonstration school. They were divided into two groups: an experimental group with 36 students learned by using graphic organizers technique and a control group with 36 students learned by using graphic organizers technique. The research instruments were 1) the geographic concepts test. The reliability of the geographic concepts test was 0.81, the difficulty levels were 0.20-0.80 and the discriminative levels were 0.20 up 2) the test of presentation of knowledge in graphic organizer forms. The reliability of the test of presentation of knowledge in graphic organizer forms was 0.70, the difficulty levels were 0.20-0.80 and the discriminative levels were 0.20 up. The collected data were analyzed by means of percentage. Arithmetic means, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. The average scores of geographic concepts of the students learning by using graphic organizers technique was higher than 70 percent which was the criterion score. 2. The average scores of presentation of knowledge in graphic organizer forms of the students learning by using graphic organizers technique was higher than 70 percent which was the criterion score. 3. The geographic concepts of Mathayom Suksa three students learning by using graphic organizers technique was higher than those learning by non using graphic organizers technique at the 0.05 level of significance.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปณตพงศ์, วรพร, "ผลของการใช้เทคนิคผังกราฟฟิกที่มีต่อมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ และความสามารถในการนำเสนอข้อมูลด้วยผังกราฟฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย" (2001). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 31926.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/31926