Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การตรวจหาชนิดของแปปปิโลมาไวรัสในมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม โดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสและไฮบริไดเซชั่น
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Detection of human papillomavirus types in invasive cervical carcinoma by means of polymerase chain reaction (PCR) and hybridization
Year (A.D.)
1994
Document Type
Thesis
First Advisor
ภาวะพันธ์ ภัทรโกศล
Second Advisor
สมชัย นิรุตติศาสน์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จุลชีววิทยาทางการแพทย์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1994.590
Abstract
Hunan papillomavirus (HPV) เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ (condyloma acumintat) ซึ่งเป็นโรคหนึ่งของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบได้ทั่วโลก นอกจากโรคหูดหงอนไก่แล้วโรคเนื้องอกของชั้นเยื่อบุผิวของปากมดลูก (cervical intraepithelial neoplasia: CIN) และโรคมะเร็งปากมดลูก (cervical cancer)ก็มีแนวโน้มว่า จะเป็นผลมาจากการติดเชื้อ HPV โดยเฉพาะ HPVs ในกลุ่มความเสี่ยงสูง ทำให้มีสมมุติฐานว่า HPV อาจมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเซลล์ติดเชื้อให้พัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ วิทยานิพนธ์นี้ได้ทำการศึกษาตัวอย่างเนื้อเยื่อซึ่งถูกตรึงด้วยฟอร์มาลินและเก็บฝังในพาราฟิน (formalin-fixed, paraffin embedded tissue) และได้พิสูจน์ทางพยาธิวิทยาว่า เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม เพื่อตรวจหา HPV-DNA ตัวอย่างทั้งหมด 100 ตัวอย่างถูกนำมาสกัดแยก DNA และทำการตรวจ ขยายเพิ่มจำนวนโดยวิธี polymerase chain reaction (PCR) โดยใช้ L1 consensus primers ซึ่งจำเพาะต่อ HPV ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการ PCR จะถูกนำมาตรวจวิเคราะห์โดยวิธี gel electrophoresis (GE) และ dot hybridization (DH) ซึ่งใช้ตัวตรวจจับทั่วไป (generic oligonucleotide probe : GP) และ ตัวตรวจจับจำเพาะ (type specific oligonucleotide probe :TS) ในการทดสอบนี้ใช้ TS จำเพาะต่อ HPV จำนวน 5 types คือ TS-6, TS-16, TS-18, และ TS-33 ตัวตรวจจับทั้งหมดจะถูกติดฉลากด้วยสารปลอดกัมมันตภาพรังสี (non-isotopic labelled probes) การตรวจผลผลิตจากกระบวนการ PCR โดยวิธี DH นี้สามารถเพิ่มความไวในการตรวจหา HPV-DNA อย่างน้อย 10 เท่า ผลการตรวจสอบพบว่า สามารถตรวจพบ HPV-DNA ในตัวอย่างจำนวน 82 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 82 และพบว่า HPV-16 เป็น type ที่พบมากที่สุดคือ 35 จาก 82 ตัวอย่าคิดเป็นร้อยละ 42.7 ตามด้วย HPV – 18 (17/82) ร้อยละ 20.7 และ HPV-33 (3/82) ร้อยละ 3.6 มี 5 ตัวอย่าง (ร้อยละ 6.1) ที่ตรวจพบทั้ง HPV-16 และ 18 อยู่ด้วยกัน ในงานวิจัยนี้ไม่สามารถตรวจพบว่ามี HPV - 6 และ 11 ในตัวอย่างเนื้อเยื่อที่นำมาศึกษา ผลการทดลองทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า การติดเชื้อ HPV โดยเฉพาะ HPV-16 และ 18 เป็นปัจจัยรวมสำคัญปัจจัยหนึ่งของโรคมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Human papillomavirus (HPV) is the causative agent of condyloma acuminate, the common sexually transmitted disease which distributed worldwide. Beside condyloma, cervical intraepithelial neoplasia (CIN) and cervical carcinoma are also suspected to be associated with HPV infection espectially those HPVs in high risk group such as HPV-16 and -18. Consequently, it was hypothesized that HPV may play some role (s) in malignant transformation. In this thesis, a detection of HPV DNA in formalin-fixed, paraffin embedded tissue with histopathologic evidence of invasive cervical carcinoma was studied. DNA extracted from 100 specimens were amplified by polymerase chain reaction (PCR) using L1 consensus primers specific for HPV. The amplified product was analysed by gel electrophoresis (GE) and dot hybridization (DH) using generic (GP) and type-specific oligonucleotide probes (TS); 5 TSs were used in this experiment, i.e., TS-6, TS-11, TS-16, TS-18 and TS-33. All of these probes were non-isotopic labelled. The DH of PCR amplified product increased the sensitivity of HPV detection by at least 10 folds. It was found that 82% of specimens contained HPV-DNA. The most common type was HPV-16. (35/82, 42.7%) followed by HPV-18 (17/82, 20.7%) and HPV – 33 (3/82, 3.6%). Five specimens (6. 1%) contains both HPV – 16 and – 18. HPV- 6 and – 11 could not be detected in any specimens. Therefore, these data seem to extend the reports by others concerning the contribution of HPV especially type- 16 and -18 in carcinogenesis of the cervix uteri.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปุณณะนิธิ, อภิสิทธิ์, "การตรวจหาชนิดของแปปปิโลมาไวรัสในมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม โดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสและไฮบริไดเซชั่น" (1994). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 31633.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/31633
ISBN
9745842788