Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเกิดแก๊สชีวภาพโดยใช้เชื้อผสมของอะซิโตเจนและเมธาโนเจน แยกจากกากตะกอนของโรงงานอุตสาหกรรมนม

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Biomethanation by mixed cultures of acetogens and methanogens isolated from sludges of dairy industry

Year (A.D.)

1994

Document Type

Thesis

First Advisor

ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จุลชีววิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1994.585

Abstract

ทำการแยกอะซิโตเจนซึ่งเป็นแบคทีเรียกลุ่มที่คัดเลือกโดยการเจริญบนอาหารที่มีกรดโพรพิโอนิคหรือกรดแลคติค และนำไปผสมกับเมธาโนเจนซึ่งเป็นแบคทีเรียกลุ่มที่คัดเลือกโดยการเจริญบนอาหารที่มีเมธานอล หรือ H₂:CO₂ (80:20) เพื่อศึกษาถึงการผลิตแก๊สมีเธนในระดับหลอดทดลอง พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแก๊สมีเธนของเชื้อผสมอะซิโตเจนที่แยกโดยใช้กรดโพรพิโอนิคและเมธาโนเจนที่แยกโดยใช้เมธานอล หรือ H₂:CO₂ (80:20) หลักจากบ่มเป็นเวลา 6 สัปดาห์ คือให้อาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่มีความเข้มข้นกรดแลคติค 5 mM มีการเติมทรายเป็นตัวค้ำจุน และเติมตัวกระตุ้นกระบวนการเกิดแก๊สมีเธนคือ H₂:CO₂ (80:20) ในสัปดาห์ที่สองของการเลี้ยงเชื้อ โดยใช้อัตราส่วนของอะซิโตเจนและเมธาโนเจน 1:1 ที่ 37̊C โดยได้ปริมาณแก๊สมีเธนเท่ากับ 2.00 x 10⁵ nmole สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อใช้เชื้อผสมของอะซิโตเจนที่แยกโดยใช้กรดแลคติค และเมธาโนเจนที่แยกโดยใช้เมธานอล หรือ H₂:CO₂ (80:20) จะเกิดแก๊สมีเธนเท่ากับ 2.07 x 10⁵ nmole เมื่อใช้อาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่มีความเข้มข้น กรดแลคติค 10 nM มีการเติมทรายเป็นตัวค้ำจุนและเติมตัวกระตุ้นกระบวนการเกิดแก๊สมีเธนคือ H₂:CO₂ (80:20) ในสัปดาห์ที่สองของการเลี้ยงเชื้อ โดยใช้อัตราส่วนของอะซิโตเจนและเมธาโนเจน 1:1 ที่ 37̊C พบว่าในภาวะทั้งสองมีค่าความเป็นกรดด่างสุดท้ายของน้ำเลี้ยงเชื้อ 6.65 และ 6.74 ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมในช่วงการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มเมธาโนเจนและให้แก๊สมีเธนในปริมาณที่สูง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Mixed cultures from sludges of dairy industry including, Acetogens, a bacterial group using propionic acid or lactic acid as a selective substrate; and, Methanogens, using methanol or H₂:CO₂ (80:20) as selective substrate were isolated. After six week-incubation of mixed cultures of Acetogens and Methanogens at a ratio of 1:1 at 37̊C high quantity of methane production of 2.0 x 10⁵ nmole was obtained. This optimal production was from Acetogens isolated by using propionic acid and Methanogens by using methanol or H₂:CO₂ (80:20) as selective substrate cultivated in a medium containing 5 mM lactic acid with sand as a carrier matrix with subsequent addition of H₂:CO₂ (80:20) in the second week of cultivation and at the same time. It was observed that final pH of both conditions are consecutively 6.65 and 6.74 which are optimal for Methanogens growth.

Share

COinS