Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการฝึกการแสดงออกที่เหมาะสมแบบกลุ่มตามแนวของเลนจ์ และจาคูโบว์สกี้ที่มีต่อพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของหัวหน้างาน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of group assertion training according to Lange and Jakubowski's approach on interpersonal relationship behavior of supervisors

Year (A.D.)

1994

Document Type

Thesis

First Advisor

พรรณราย ทรัพยะประภา

Second Advisor

จีน แบรี่

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1994.738

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการแสดงออกที่เหมาะสมแบบกลุ่มตามแนวของเลนจ์และจาคูโบว์สกี้ ที่มีต่อพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของหัวหน้างาน กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้างานของบริษัท อาร์ เอ็ม กรุ๊ป จำกัด ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 16 คน สุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลองได้เข้ารับการฝึกการแสดงออกที่เหมาะสมดังกล่าวสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้นจำนวน 7 ครั้ง โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นำการฝึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งแปลจากแบบประเมิน ไพโร-บี ของ ชุทส์ และแบบสอบถามพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการทดลองแบบทดสอบก่อนและหลังการทดลองโดยมีกลุ่มควบคุม ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนของกลุ่มทดลองโดยใช้ค่าที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยปรากฏว่า หัวหน้างานที่ได้รับการฝึกการแสดงออกที่เหมาะสมแบบกลุ่มตามแนวของเลนจ์ และจาคูโบว์สกี้ มีพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ ด้านการมีส่วนร่วมที่แสดงออกต่อผู้อื่น ด้านการมีส่วนร่วมที่ต้องการให้ผู้อื่นแสดงออกต่อตน ด้านการผูกพันที่แสดงออกต่อผู้อื่นและด้านการผูกพันที่ต้องการให้ผู้อื่นแสดงออกต่อตน และมีพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญเพียง 1 ด้าน คือ ด้านการควบคุมที่ต้องการให้ผู้อื่นแสดงออกต่อตน ส่วนด้านการควบคุมที่แสดงออกต่อผู้อื่นนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this research was to study the effects of group assertion training according to Lange and Jakubowski’s approach on interpersonal relationship behavior of supervisors. The sample included 16 volunteer supervisors at R.M. Group Company Limited. The subjects were randomly assigned to an experimental group and a control group, each group comprising 8 supervisors. The experimental group participated in seven sessions of group assertion training conducted by the researcher for two hours, once a week. Interpersonal Relationship Behavior was assessed by a modified version of FIRO-B by Schutz, and a Assertive Behavior Questionnaire constructed by the researcher. The pretest-posttest control group design was used. T-test was utilized for data analysis at the .05 level of significance. Results show that supervisors who participated in the group assertion training according to Lange and Jakubowski’s approach significantly increased their interpersonal relationship behavior in the dimensions of Expressed Inclusion, Wanted Inclusion, Expressed Affection, and Wanted Affection, but significantly decreased their interpersonal relationship behavior in the dimension of Wanted Control. There was no significant decrease in the dimension of Expressed Control.

Share

COinS