Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่มต่อความพร้อมทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of group career counseling on career readiness of mathayam suksa three students
Year (A.D.)
1994
Document Type
Thesis
First Advisor
พรรณราย ทรัพยะประภา
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1994.735
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่มต่อความพร้อมทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ที่มีคะแนนความพร้อมทางอาชีพด้านทัศนคติต่ออาชีพและการประเมินความสามารถทางอาชีพต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน กลุ่มควบคุม 10 คน เป็นชายกลุ่มละ 5 คน เป็นหญิงกลุ่มละ 5 คน กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จำนวน 15 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม ดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่มตามแนวความคิดของ จอห์น โอ ไครท์ส ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจความพร้อมทางอาชีพด้านทัศนคติต่ออาชีพและด้านการประเมินความสามารถของ จอห์น โอ ไครท์ส รูปแบบการวิจัยนี้เป็นแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest – Posttest Control Group Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าที ( t – test ) ผลการวิจัยปรากฏว่า นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพร้อมทางอาชีพด้านทัศนคติต่ออาชีพ และด้านการประเมินความสามารถทางอาชีพหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมและสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study the effects of Group Career Counseling on Career Readiness of Mathayom Suksa Three students at Prathumthep Vithayakarn Amphur Meaung, Nonkhai Provice, academic year 1993. Twenty students who gained lower mean scores in both the Attitude Scale and the Competence Test from Career Readiness Inventory were randomly assigned into the experimental and the control group, 10 students each. The experimental group participated in Crites’s Model of Group Career Counseling activities, conducted by the researcher for one hour, 2 sessions per week and for the total of 15 sessions. The instrument used are the Attitude Scale and the competence Test of the Career Readiness Inventory, constructed by John O. Crites. The pretest – posttest control group design was used. T-test was Utilized for data analysis. The results indicated that the experimental group, after participating in Group Career Counseling activities gained significantly higher mean scores in Career Readiness Inventory in both the Attitude Scale and the Competence Test than those in the control group, as well as higher than before participating in the activities at .01 level of significance.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ภูมิศรีแก้ว, แก้วกานต์, "ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่มต่อความพร้อมทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3" (1994). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 31610.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/31610