Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Voting behavior in the village headman's election

Year (A.D.)

1994

Document Type

Thesis

First Advisor

ประหยัด หงษ์ทองคำ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การปกครอง

DOI

10.58837/CHULA.THE.1994.503

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มุ่งที่จะศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในจังหวัดนครนายก ในการตัดสินใจเลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นผู้นำที่ใกล้ตัวมากที่สุด โดยมีสมมุติฐานว่า (1) ความเป็นเครือญาติ (2) การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และ (3) ความความสามารถของผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญสูงสุดต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง เรียงตามลำดับ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประกอบกับการวิจัยเอกสาร หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ หมู่บ้านในจังหวัดนครนายกที่มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 33 หมู่บ้าน โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือเลือกเอาหมู่บ้านขนาดใหญ่และเล็ก อย่างละ 3 หมู่บ้าน หลังจากนั้นจึงเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390 คน โดยการสุ่มแบบธรรมดา จากรายชื่อชาวบ้านที่เป็นหัวหน้าครอบครัว การเก็บข้อมูลกระทำเมื่อเดือน พฤษภาคม - ธันวาคม 2536 ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านของประชาชนในจังหวัดนครนายก ขึ้นอยู่กับปัจจัยเรียงลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้คือ (1) ความมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูล (2) ความรู้ความสามารถ และ (3) การเป็นเครือญาติกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนปัจจัยอื่น ๆ เช่น การศึกษา อาชีพและรายได้ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้พบด้วยว่า เนื่องจากการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นการเลือกผู้นำที่ใกล้ตัวมากที่สุด ประชาชนส่วนมากเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง และมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนบ้างเล็กน้อย สมควรจะได้มีการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญของประชาธิปไตยของไทย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study is confined to the analysis of the electoral behavior of the electorate in Nakorn Nayok province regarding their choice of their village headman. Thirty-three villages were included in the current survey and the relevant statistical method employed. The research was undertaken between May to December 1993. The results did reveal certain phenomena, pertaining particularly to the agrarian communities. Patronage, knowledge and kinship, respectively, played significant role in the decision of the villagers 'in the village headman’s election. It is also noted that the participation in the village headman's election, their immediate political activity, is relatively substantial. However, minimal deviation is also detected. Since such election is related to the majority of the people, the development in this area is indispensable to the strengthening of democracy at the grass root level. Constructive inputs should, therefore, be duly considered and consistently provided.

Share

COinS