Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
คณะกรรมการ ป.ป.ป. : กรณีศึกษาการควบคุมการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของข้าราชการการเมืองของไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The Commission of Counter Corruption : a case study of countering the corruption of Thai political appointees
Year (A.D.)
1994
Document Type
Thesis
First Advisor
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การปกครอง
DOI
10.58837/CHULA.THE.1994.502
Abstract
การทำวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) ศึกษากระบวนการการควบคุมการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในวงราชการของข้าราชการการเมืองของไทย โดยคณะกรรมกรรม ป.ป.ป. (2) ประสิทธิภาพของกลไก ที่ใช้ควบคุมการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการการเมืองของไทย และ (3) ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการตาม อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ป. โดยมีสมมุติฐานว่า (1) คณะกรรมการ ป.ป.ป. ในฐานะเป็นองค์กรของฝ่าย บริหารไร้ความสามารถในการควบคุมการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ของข้าราชการการเมือง ที่มีหน้าที่ บริหาราชการแผ่นดิน (2) การจัดองค์กรของคณะกรรมการ ป.ป.ป. รวมตลอดถึงการแต่งตั้งบุคลากร ให้มีอำนาจหน้าที่ ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ป.ยังไม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังไม่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อ การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของข้าราชการการเมือง ที่มีหน้าที่บริหารราชการ แผ่นดินอย่างแท้จริง ผลการศึกษาพบว่า สมมุติฐานได้รับการยืนยัน กล่าวคือ การควบคุมการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราช การการเมืองของไทย ที่มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ป.ยังมี อุปสรรค และตราบเท่าที่คณะกรรมการ ป.ป.ป.ยังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการด้านนี้อยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ คณะกรรมการ ป.ป.ป.จะต้องปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานและกลไกต่างๆ เช่น กฎหมาย บุคลากร รวม ไปถึงการจัดองค์กรให้เอื้อประโยชน์สูงสุดต่อการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ป.ในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการการเมืองที่มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of the thesis, "The Commission of Counter Corruption : A Case Study of Countering the Corruption of Thai Political Appointees," are as follows : (1) to study the process of controling corruption of Thai political appointees, (2) to study the effectiveness of the controling structure, (3) to study the functional efficiency of such body. The finding confirms the fact that, due to certain difficulties, the Commission is relatively powerless in its dealing with political appointees. Consequently, if shortcomings are to be rectified, legal, personnel, structural, functional and jurisdictional improvements have to be made.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พัฒนธรรม, ภาณุเดช, "คณะกรรมการ ป.ป.ป. : กรณีศึกษาการควบคุมการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของข้าราชการการเมืองของไทย" (1994). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 31466.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/31466