Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study of the instructional management of basic education in the area of art based on the national education act B.E. 2542
Year (A.D.)
2002
Document Type
Thesis
First Advisor
สุลักษณ์ ศรีบุรี
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ศิลปศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2002.191
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดจัดการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในด้าน 1) วัตถุประสงค์ 2) เนื้อหาสาระ 3) กระบวนการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนศิลปศึกษา จำนวน 336 คน และนักวิชาการทางด้านศิลปศึกษาจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูศิลปศึกษาส่วนใหญ่ เห็นด้วยมากที่สุด ในการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษาทุกด้านคือ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 2. ครูศิลปศึกษา ได้ให้ข้อเสนอแนะในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านวัตถุประสงค์ : ในทุกระดับชั้น ควรมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความซาบซึ้ง ความภูมิใจในศิลปะไทย และศิลปะท้องถิ่น ควรส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ เพื่อแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางผ่านกระบวนการทำงานของตนเอง ด้านเนื้อหาสาระ : ควรส่งเสริมการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมที่ได้มาจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆนอกห้องเรียน และให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ : ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานศิลปะตามความต้องการ ความถนัด ความสนใจของตนเอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และวุฒิภาวะ ด้านการวัดและประเมินผล : ควรประเมินตามสภาพจริง และเน้นความมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม 3. นักวิชาการทางด้านศิลปศึกษา ได้ให้ข้อเสนอแนะในแต่ละด้านดังนี้ ด้านวัตถุประสงค์ : ควรมีความสอดคล้องระหว่าง หลักสูตรแกนกลาง และหลักสูตรท้องถิ่น ด้านเนื้อหาสาระ : ควรจัดเนื้อหาสาระแยกตามสาระการเรียนรู้ ทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฎศิลป์ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ : ควรเน้นการจัดกิจกรรมทั้งใน และนอกห้องเรียน ใช้แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ และ บูรณาการวิธีการสอนที่หลากหลาย ด้านการวัดและประเมินผล : การประเมินผลควรเป็นไปตามสภาพจริง ควรมีการประเมินโดยครูเป็นผู้ประเมินผล นักเรียนประเมินตนเอง ครู และนักเรียนประเมินร่วมกัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study the instructional management of basic education in the area of art based on the national education act B.E. 2542 in 1) objectives 2) content 3) learning process 4) measurement and evaluation. The samples of this study were 366 teachers and 15 art educators. The instruments used in this research were the questionnaire and the interview form. The collected data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, and content analysis. The research finding was as follow : 1) Most of art teachers agreed as the higest level in instructional management of art education in all areas; objective, content, learning process management, and evaluation. 2) Art teachers suggested in each area that. Objectives : In all levels learners should be supported to gain knowledge, understanding, and pround of Thai art and traditional art. They should be encouraged to think creatively, by develop imagination and expression including giving support to express ideas, to communicate thoughts and feelings by using art as a mean of an independent working process. Content area : learners should be encouraged to get knowledge from any kind of learning resources, and they should have a chance to learn in authentic situations. Learning process management : learners should have an opportunity to do art works in accordance with their needs, working style, and interest by considering appropriateness and maturity. Measurement and evaluation : authentic assessment should be implemented in all areas focusing on morals, ethics and good values. 3) Art educators suggested in each area that Objectives : it should be in accordance with the core curriculum and the local curriculum. Content area : it should be separated in each area; visual arts, music, and dance. Learning process management : it should emphasize activities both inside and outside the classrooms, employed a variety of learning resources and integrated the instructional methods. Measurement and evaluation : the authentic evaluation should be used. Evaluation should be done by teacher as the evaluator, students evaluated themselves, and both teacher and students collaborated evaluation.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
คงพัฒน์, อัฏฐพล, "การศึกษาการจัดการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542" (2002). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 31265.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/31265