Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการเรียนการสอนแบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความคงทนในการเรียน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of using the 4 MAT instructional system on science learning achievement, retention and attitude towards science of lower secondary school students
Year (A.D.)
2002
Document Type
Thesis
First Advisor
สุนทร ช่วงสุวนิช
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การศึกษาวิทยาศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2002.91
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มที่เรียนแบบ 4 MAT 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มที่เรียนแบบ 4 MAT 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความคงทนในการเรียน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างกลุ่มที่เรียนแบบ 4 MAT และกลุ่มที่เรียนตามแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสวนวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่เรียนแบบ 4 MAT จำนวน 35 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียนตามแบบปกติ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.26 - 0.78 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.22 0.67 และ 2) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 2.06 - 5.37 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบ 4 MAT ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ สูงกว่าร้อยละ 70 2. นักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบ 4 MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนตามแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบ 4 MAT มีความคงทนในการเรียน 4. นักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบ 4 MAT มีความคงทนในการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนตามแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบ 4 MAT มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. นักเรียนกลุ่มที่เรียนแบบ 4 MAT มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนตามแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were 1) to study science learning achievement, retention of the lower secondary school students group learning by 4 MAT 2) to compare attitude towards science of the lower secondary school students group learning by 4 MAT between before and after learning 3) to compare science learning achievement, retention and attitude towards science after learning of the lower secondary school students between the group learning by 4 MAT and the group learning by conventional teaching method. The samples were divided into two groups of mathayom suksa one students of Bansuanvitayakom School at Amphur Muang, Sukhothai Province. They were an experimental group learning by 4 MAT with 35 students and a control group learning by conventional teaching method with 35 students. The research instruments were 1) a science learning achievement test, the reliability was 0.85, the difficulty levels were 0.26 0.78 and the discriminative levels were 0.22 0.67 2) an attitude towards science test, the reliability was 0.87 and the discriminative levels were 2.06 5.37. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic means, standard deviation and t - test. The research findings were summarized as follows : 1.Students group learning by 4 MAT had the average score of science learning achievement was higher than 70 percent which was the criterion score. 2. Students group learning by 4 MAT had the science learning achievement was higher than students group learning by conventional teaching method at the .05 level of significance. 3. Students group learning by 4 MAT had the retention. 4. Students group learning by 4 MAT had the retention was higher than students group learning by conventional teaching method at the .05 level of significance. 5. Students group learning by 4 MAT had the attitude towards science after learning was higher than before learning at the .05 level of significance. 6. Students group learning by 4 MAT had the attitude towards science after learning was higher than students group learning by conventional teaching method at the .05 level of significance.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เชยวัดเกาะ, นิภาภรณ์, "ผลของการเรียนการสอนแบบ 4 MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความคงทนในการเรียน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น" (2002). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 31165.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/31165
ISBN
9741721455