Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปรียบเทียบผลของการให้ข้อมูลกลับคืนในเทคนิคเดลฟาย ระหว่างการให้ข้อมูลกลับคืนด้วยค่าสถิติที่แตกต่างกัน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A comparison of feedback effects in delphi technique among feedbacks with different statistics
Year (A.D.)
2000
Document Type
Thesis
First Advisor
สุวิมล ว่องวาณิช
Second Advisor
อวยพร เรืองตระกูล
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิจัยการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2000.165
Abstract
เปรียบเทียบผลของการให้ข้อมูลกลับคืนในเทคนิคเดลฟาย ระหว่างการให้ข้อมูลกลับคืน ด้วยค่าสถิติที่แตกต่างกัน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลของการให้ข้อมูลกลับคืนจะศึกษาในด้านการเปลี่ยนแปลงคำตอบ ความเร็วในการได้รับฉันทามติ และการตอบที่สอดคล้องกับสภาพจริง แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับปัจจัยและกระบวนการพัฒนาตนเองของครู สู่การเป็นครูที่มีคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นครูต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือก โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2541 และ 2542 จำนวน 121 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การเปลี่ยนแปลงคำตอบพิจารณาจากค่าร้อยละ ของจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่เปลี่ยนแปลงคำตอบ เมื่อเทียบกับรอบที่ผ่านมา ความเร็วในการได้รับฉันทามติพิจารณาจาก สัดส่วนของจำนวนข้อความที่ได้รับฉันทามติ และจำนวนรอบในการเก็บรวบรวมข้อมูล การตอบที่สอดคล้องกับสภาพจริงพิจารณาจาก ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นของกลุ่มทดลอง และความคิดเห็นของประชากรผู้เชี่ยวชาญที่เป็นครูต้นแบบ ผลการวิจัยได้ข้อสรุปว่าการให้ข้อมูลกลับคืน ด้วยค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญตอบสอดคล้องกับสภาพจริงมากที่สุด และได้รับฉันทามติเร็วที่สุด นอกจากนี้ยังส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญเปลี่ยนแปลงคำตอบน้อยที่สุด
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To compare the feedback effect in delphi technique among feedbacks with different statistics. Three types of statistical feedback were percentage, median and interquartile range, and mean and standard deviation. The effects of feedback in this research were studied on (1) response change, (2) time spent in reaching consensus, and (3) quality of responses which were congruent with those of the population. This research studied in content of factors and processes to self-development of the master teachers. One hundred and twenty-one experts in master teachers, who were selected by the Office of the National Education Commission in the years 1998 and 1999, were randomly assigned into 12 groups according to types of statistical feedback. The questionnaires were sent to the subjects by mail. The results of this study were as follows: In summary, feedback with mean and standard deviation is the most effective when compared to the others. The responses of the group obtaining mean/standard deviation feedback were mostly congruent with those of population. In addition, the time spent in reaching consensus was less than the others
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บาลศิริ, ศักดิ์ชัย, "การเปรียบเทียบผลของการให้ข้อมูลกลับคืนในเทคนิคเดลฟาย ระหว่างการให้ข้อมูลกลับคืนด้วยค่าสถิติที่แตกต่างกัน" (2000). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 30796.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/30796