Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปรียบเทียบความตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยง ความคงที่ในการตอบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนการตอบและฟังก์ชันสารสนเทศ ของมาตรวัดเจตคติแบบลิเคิร์ท ที่มีทิศทางการเรียงมาตรและความเข้มของข้อความต่างกัน
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A comparison of construct validity, reliability, response stability, mean and information function of Likert attitude scales with different order of response lables and intensity of statements
Year (A.D.)
2000
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริชัย กาญจนวาสี
Second Advisor
ศิริเดช สุชีวะ
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การวัดและประเมินผลการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2000.33
Abstract
การวิชัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยง ความคงที่ในการตอบค่าเฉลี่ยของคะแนนการตอบและฟังก์ชันสารสนเทศของมาตร'วัดเจตคติแบบลิเคิร์ทที่มีทิศทางการเรียงมาตรและความเข้มของข้อความต่างยันและศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างทิศทางการเรียงมาตรและความเข้มขอข้อความที่มีต่อค่าเฉลี่ยของคะแนนตอบ ความเที่ยงและความคงที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูแบบลิเคิร์ท จำนวน 6 ฉบับ กลุ่มตัวอย่าง คอ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 208 คน วิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยโปรแกรม LISREL 8.10 วิเคราะห์ความคงที่ในการตอบโดยการทดสอบความแตกต่างระหว่างตำแหน่งของผู้ตอบในมาตรวิดแต่ละฉบับ วิเคราะห์ฟังก์ชันสารสนเทศของมาตรวัดโดย ใช้โปรแกรม PARSCALE ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างทิศทางการเรียงมาตรและความเข้มของข้อความที่มีต่อค่าเฉลี่ยของคะแนนตอบ โดยมาตรวัดที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงลบไปหาเชิงบวกให้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่ามาตรวัดที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงบวกไปหาเชิงลบ เมื่อความเข้มของข้อความเป็นอย่างมากและอย่างปานกลาง แต่ในกรณีที่ความเข้มของข้อความเป็นอย่างอ่อน ค่าเฉลี่ยของคะแนนการตอบจากมาตรวิดที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงบวกไปหาเชิง ลบสูงกว่ามาตรวิดที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงลบไปหาเชิงบวก 2. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างทิศทางการเรียงมาตรและความเข้มของข้อความที่มีต่อความเที่ยงของคะแนนการตอบกล่าวคอ มาตรวัดที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงลบไปหาเชิงบวกให้ค่าความเที่ยงของมาตรวิดสูงกว่ามาตรวัดที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงบวกไปหาเชิงลบในทุกระดับความเข้มของข้อความ 3. มาตรวิดเจตคติทั้ง 6 ฉบับ มีความตรงเชิงโครงสร้างไม่ต่างกัน 4. ไม่มีความคงที่ในการตอบของผู้ตอบในแต่ละมาตรวัด และไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของข้อความและทิศทางการเรียงมาตรต่อความคงที่ในการตอบของผู้ตอบ 5. ในชิวงระดับเจตคติตํ่าถึงปานกลาง (-3<0<0) มาตรวิดฉบับที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงลบไปหาเชิงบวกและความเข้มของข้อความอย่างมาก ให้ฟังก์ชันสารสนเทศสูงสุด แต่ในชิวงเจตคติสูง (.5<0<3) มาตรวัดฉบับที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงลบไปหาเชิงบวกและความเข้มของข้อความอย่างอ่อน ให้ฟังก์ชันสารสนเทศสูงสุด และเมื่อพิจารณาอัตราส่วนสารสนเทศเฉลี่ย พบว่ามาตรวัดที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงลบไปหาเชิงบวกมี อัตราส่วนสารสนเทศเฉลี่ยสูงกว่ามาตรวิดที่มีทิศทางการเรียงมาตรจากเชิงบวกไปหาเชิงลบไนทุกระดับความเข้ม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were to compare the construct validity, reliability, response stability, mean and information function of Liken attitude scales with different order of response labels and intensity of statements and to study the interaction effects of the order of response labels and intensity of statements on mean, reliability and response stability. The research instruments were six Likert attitude scales towards teacner s professional. The sample consisted of 208 students in Faculty of Education, Chulalongkorn University. Data were analyzed through descriptive statistics and reliability was estimated by Cronbach's alpha coefficient Confirmatory Factor Analysis was performed to determine the construct validity through LISREL program 8.10. A comparison of rank of the different order of response and intensity scales was performed to determine response stability. Test information function was analyzed through PARSCALE program The results were : 1 ) The interaction effects of the order of response and the intensity of mean of Likert attitude scale were found significantly. At the strong-intensity and middle- intensity statements, the reversing order scale had higher mean than the traditional order scale while the traditional order scale provided higher mean than the reversing order scale at the mild- intensity. 2) The interaction effects of the order of response and the intensity of reliability of Likert attitude scale were not found. At all intensity levels, the reversing order scale had higher reliability than the traditional order scale. 3) All scales had the construct validity. 4) All scales had significantly different response stability. The interaction effects of the order of response and the intensity on response stability were not found. 5) At the low and medium attitude level (-3<0
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ทองดี, อังคณา, "การเปรียบเทียบความตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยง ความคงที่ในการตอบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนการตอบและฟังก์ชันสารสนเทศ ของมาตรวัดเจตคติแบบลิเคิร์ท ที่มีทิศทางการเรียงมาตรและความเข้มของข้อความต่างกัน" (2000). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 30664.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/30664