Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจที่มีต่อสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดและอัตราการเต้นของหัวใจขณะฟื้นตัว
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of using nasal strips on the maximal oxygen uptake and the recovery heart rate
Year (A.D.)
1999
Document Type
Thesis
First Advisor
เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
พลศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1999.111
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดระหว่างการใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจและไม่ใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจ และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจในขณะฟื้นตัว ระหว่างการใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจและไม่ใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจและไม่ใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 30 คน โดยแบ่งผู้รับการทดสอบออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 15 คน ผู้วิจัยจัดการทดลองเป็น 2 สภาวะ คือ สภาวะที่ 1 ใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจ สภาวะที่ 2 ไม่ใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจ โดยให้กลุ่มตัวอย่างชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก วัดสมรรถภาพการจัดออกซิเจนสูงสุดด้วยวิธี ออสตรานด์ แล้วให้นั่งพักเพื่อหาอัตราการเต้นของหัวใจขณะฟื้นตัว แต่ละสภาวะเว้นห่างกัน 1 สัปดาห์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ระหว่างสภาวะที่ใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจ (X = 51.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อนาที) มากกว่าสภาวะที่ไม่ใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจ (X = 46.80 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อนาที) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. อัตราการเต้นของหัวใจขณะฟื้นตัวระหว่างสภาวะที่ใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจ (X = 4.73 นาที) ใช้เวลาน้อยกว่าสภาวะที่ไม่ใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจ (X = 6.90 นาที) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study effect of using nasal stinp on the maximal oxygen uptake and the recovey heart rate. The subject were thirty students in the third and fourth year of the department Physical Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University. They were divided into two groups of 15 persons each. At the first condition used nasal strips and the second condition did without nasal strips. The weight, height and heart rates were measured. The subjects were measured the maximal oxygen uptake by using Per Olof Austrand Method and the recovery heart rate. Each condition was tested twice with a interval duration of one week. The obtained data were analized in terms of means and standard deviation. A t-test was used to determine the significant difference between means. The results were as follows: 1. The maximal oxygen uptake when using nasal strips was significantly higher than without using nasal strips at the .01 level. 2. The recovery heart rate after the test between using nasalstrips was significantly better than without using nasal strips at the .01 level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฉิมตระกูล, ปนัดดา, "ผลของการใช้พลาสเตอร์ช่วยหายใจที่มีต่อสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดและอัตราการเต้นของหัวใจขณะฟื้นตัว" (1999). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 30588.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/30588