Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กโดยการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง เรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารกเป็นกลุ่มในสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านเด็กจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of one-the job training program for caregivers on infant group care in Chulalongkorn University child care center
Year (A.D.)
1999
Document Type
Thesis
First Advisor
อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การศึกษาปฐมวัย
DOI
10.58837/CHULA.THE.1999.49
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กโดยการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง เรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารกเป็นกลุ่มในสถานรับเลี้ยงเด็ก บ้านเด็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 10 คน และผู้ปกครองที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมการฝึกอบรม จำนวน 10 คน ขั้นตอนในการพัฒนา โปรแกรมฯ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การร่างโปรแกรมฯ ขั้นที่ 2 การทดลองใช้โปรแกรมฯ ขั้นที่ 3 การปรับปรุงโปรแกรมฯ ผลการวิจัยเป็นดังนี้คือ 1.)หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ ผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กมีคะแนนความรู้ความเข้าใจจากการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ ผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กมากกว่าร้อยละ 80 มีทักษะการปฏิบัติงานอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารกสูงกว่าก่อนทดลอง 3.) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ ผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กมากกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจมากต่อการเข้าร่วมโปรแกรมฯ และ 4.) ผู้ปกครองที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมฯมากกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจมากต่อการเข้าร่วมโปรแกรมฯ โปรแกรมฯ ที่ปรับปรุงแล้วและนำเสนอประกอบด้วย หลักการของโปรแกรม ฯ วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายสาระสำคัญของโปรแกรมฯ การดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมฯ และการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมฯ แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1.) ระยะเตรียมการวางแผนเข้าสู่โปรแกรมฯ 2.) ระยะเริ่มต้นโปรแกรมฯ 3.) ระยะพัฒนาโปรแกรมฯ และ 4.) ระยะสรุปและอภิปรายผลโปรแกรมฯ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กโดยการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง เรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารกเป็นกลุ่มในสถานรับเลี้ยงเด็ก บ้านเด็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 10 คน และผู้ปกครองที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมการฝึกอบรม จำนวน 10 คน ขั้นตอนในการพัฒนา โปรแกรมฯ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การร่างโปรแกรมฯ ขั้นที่ 2 การทดลองใช้โปรแกรมฯ ขั้นที่ 3 การปรับปรุงโปรแกรมฯ ผลการวิจัยเป็นดังนี้คือ 1.)หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ ผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กมีคะแนนความรู้ความเข้าใจจากการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ ผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กมากกว่าร้อยละ 80 มีทักษะการปฏิบัติงานอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารกสูงกว่าก่อนทดลอง 3.) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ ผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กมากกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจมากต่อการเข้าร่วมโปรแกรมฯ และ 4.) ผู้ปกครองที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมฯมากกว่าร้อยละ 80 มีความพึงพอใจมากต่อการเข้าร่วมโปรแกรมฯ โปรแกรมฯ ที่ปรับปรุงแล้วและนำเสนอประกอบด้วย หลักการของโปรแกรม ฯ วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายสาระสำคัญของโปรแกรมฯ การดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมฯ และการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมฯ แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1.) ระยะเตรียมการวางแผนเข้าสู่โปรแกรมฯ 2.) ระยะเริ่มต้นโปรแกรมฯ 3.) ระยะพัฒนาโปรแกรมฯ และ 4.) ระยะสรุปและอภิปรายผลโปรแกรมฯ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เมืองสุข, สุทธาทิพย์, "การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมผู้ให้การเลี้ยงดูเด็กโดยการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง เรื่องการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารกเป็นกลุ่มในสถานรับเลี้ยงเด็กบ้านเด็กจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (1999). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 30526.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/30526