Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลทางการเรียนกับทัศนคติของมารดาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Relationship between academic achievement and maternal attitudes toward child rearing practices

Year (A.D.)

1972

Document Type

Thesis

First Advisor

วัชรี ทรัพย์มี

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยาการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1972.1

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลทางการเรียนกับทัศนคติของมารดาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูโดยใช้วิธีสัมภาษณ์มารดาแต่ละคนตามแบบวิจัยทัศนคติมารดา (A Parental Attitude Research Instrument : PARI) กลุ่มตัวอย่างประชากรคือมารดานักเรียนชั้นประถมปีที่ ๗ โรงเรียนพญาไท ปีการศึกษา ๒๕๑๔ จำนวน ๑๐๐ คน กลุ่มตัวอย่างประชากรแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มมารดานักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงจำนวน ๕๐ คนเป็นมารดานักเรียนชาย ๒๕ คนและหญิง ๒๕ คน นักเรียนเหล่านี้มีอายุระหว่าง ๑๑ ถึง ๑๕ ปีและได้คะแนนรวมจากการสอบภาคกลางปีการศึกษา ๒๕๑๔ อยู่ในระหว่างเปอร์เซ็นไตล์ที่ ๗๔ ถึง ๙๙ สำหรับกลุ่มมารดานักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำ จำนวน ๕๐ คนเป็นมารดานักเรียนชาย ๒๕ คนและหญิง ๒๕ คน นักเรียนเหล่านี้มีอายุระหว่าง ๑๑ ถึง ๑๕ ปีและได้คะแนนรวมจากการสอบภาคกลางปีการศึกษา ๒๕๑๔ อยู่ในระหว่างเปอร์เซ็นไตล์ที่ ๑ ถึง ๒๔ วิธีการทางสถิติใช้การทดสอบค่าที (t – test) ผลการวิจัยมีดังนี้ ๑. มารดานักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและมารดานักเรียนที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบความคุมพฤติกรรมของเด็ก การละเลยทอดทิ้งเด็กและการเลี้ยงดูอบรมเด็กโดยใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ ๒. มารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและมารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบควบคุมพฤติกรรมของเด็กการละเลยทอดทิ้งเด็กและการเลี้ยงดูอบรมเด็กใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ ๓. มารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและมารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบควบคุมพฤติกรรมของเด็กการละเลยทอดทิ้งเด็กและการเลี้ยงดูอบรมเด็กโดยใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ ๔. มารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงและมารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบความคุมพฤติกรรมของเด็กการละเลยทอดทิ้งเด็กและการเลี้ยงดูอบรมเด็กโดยใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ ๕. มารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำและมารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการวางระเบียบควบคุมพฤติกรรมของเด็กและการละเลยทอดทิ้งเด็กไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๕ แต่มารดานักเรียนหญิงที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำมีทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงดูอบรมเด็กโดยใช้วิธีการปกครองแบบประชาธิปไตยมากกว่ามารดานักเรียนชายที่มีสัมฤทธิผลทางการเรียนต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .๙๘

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to find the relationship between academic achievement and maternal attitudes toward child rearing practices. A parental Attitude Research Instrument (PARI) was used for individual interviewing of 100 mothers (50 mothers of high – achievers and 50 mothers of low – achievers.) The points from the second term of the fifty high – achievers (25 boys, 25 girls) fell between the 74{uE0182} ͭ ͪ to the 99 ͭ ͪ percentile rank, and the points of the fifty low -–achievers (25 boys, 25 girls) fell between the 1 ̾ ͭ to the 24 ͭ ͪ percentile rank. These pupils, aged between 11-15 years, and studying in Pratom 7 at Phyathai School during 1971 academic year. The t – test was employed in this study. The major results of the study are as follows: 1. The mothers of high – achievers and the mothers of low – achievers did not differ significantly on Authoritarian – Control, Hostility Rejection, and Democratic Attitude (at the .05 level). 2. The mothers of high achieving boys and the mothers of low achieving boys did not differ significantly on Authoritarian – Control, Hostility – Rejection, and Democratic Attitude (.05 level). 3. The mothers of high achieving girls and the mothers of low achieving girls did not differ significantly on Authoritarian – Control, Hostility – Rejection, and Democratic Attitude (.05 level). 4. The mothers of high achieving boys and the mothers of high achieving girls dis not differ significantly on Authoritarian – Control, Hostility – Rejection, and Democratic Attitude (.05 level). 5. The mothers of low achieving boys and the mothers of low achieving girls did not differ significantly on Authoritarian – Control and Hostility – Rejection (.05 level), but the mothers of low achieving girls had higher scores for Democratic Attitude than did the mothers of low achieving boys (significant at the .20 level).

Share

COinS