Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การสกัดคาโรทีนอยด์จากเปลือกส้มเขียวหวาน citrus reticulata blanco
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Extraction of carotenoids from tangerine citrus reticulata blanco peel
Year (A.D.)
1995
Document Type
Thesis
First Advisor
สุวิมล กีรติพิบูล
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีทางอาหาร
DOI
10.58837/CHULA.THE.1995.623
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดคาโรทีนอยด์จากเปลือกส้มเขียวหวาน (Citrus reticulata Blanco) เสถียรภาพของสารสกัดคาโรทีนอยด์เข้มข้น และ สารสกัดคาโรทีนอยด์ในน้ำมันพืช และการใช้สารสกัดเข้มข้นในผลิตภัณฑ์น้ำส้ม ผลการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการสกัดคาโรทีนอยด์จากเปลือกส้มเขียวหวาน เพื่อให้ได้ปริมาณคาโรทีนอยค์มากที่สุด คือใช้อะซีโตนเป็นตัวทาละลายในการสกัด โดยมีอัตราส่วนระหว่าง ตัวทำละลายกับเปลือกส้มเท่ากับ 2.5 : 1 (ปริมาตรต่อน้ำหนัก) สกัดที่ 10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 25 นาที จากการศึกษาพบว่าการสกัดด้วยอะซีโตนซ้ำ 4 ครั้ง ในแต่ละตัวอย่าง ได้ปริมาณคาโรทีนอยด์ มากกว่าร้อยละ 80 ของคาโรทีนอยด์ที่สกัดได้ทั้งหมด (6 ครั้ง) สารละลายสกัดที่ได้มี เบตาคาโรทีน ซีตาคาโรทีน และเบตาซีแซนทิน จากการวิเคราะห์ด้วยไฮเพอฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี พบว่าสารสกัดคาโรทีนอยด์เข้มข้นมีเบตาคาโรทีนอยู่ 10.14 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเปลือกส้มแห้ง การวิเคราะห์ สารหนู สารตะกั่ว และทองแดง ในสารละลายสกัด พบว่ามีปริมาณต่ำมากและไม่พบตัวทำละลายที่ใช้สกัด ในการศึกษาเสถียรภาพของสารสกัดคาโรทีนอยด์เข้มข้น และสารสกัดคาโรทีนอยด์ในน้ำมันพืชที่เติมและ ไม่เติมแอนติออกซิแดนท์ในระหว่างการเก็บที่อุณทภูมิต่างๆ พบว่าการ เก็บสารสกัดทั้งสองรูปแบบที่อุณหภูมิ แช่เยือกแข็ง (-18±2 องศาเซลเซียส) มีผลในการชลอการลดลงของปริมาณคาโรทีนอยด์ได้ดีกว่าการเก็บที่อุณหภูมิห้องเย็น (4±2 องศาเซลเซียส) และอุณหภูมิห้อง (30±2 องศาเซลเซียส) ส่วนผลของแอนติออกซีแดนท์ต่อการสูญเสียคาโรทีนอยด์มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญหางสถิติ (p >0.05) การเติมสารสกัดเข้มข้นในน้ำส้มคั้น ปรากฏว่าน้ำส้มคั้นมีสีเหลืองและแดงเพิ่มขึ้นกว่าน้ำส้มคนที่ไม่ได้เติมสารสกัดเข้มข้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This thesis was the studies of the conditions for-extraction of carotenoids from tangerine Citrus reticulata Blanco peel, storage stability of concentrated extract and utilization of concentrated extract in orange juice products. The results showed that the ratio of acetone: peel =2.5 : 1 (volume by weight) and extraction at 10°c for 25 minutes were the optimum conditions. It was also found that 4 successive extractions with acetone more than 80% of carotenoids was recovered. The resulted in extracted carotenoids contain β-carotene, zeta-carotene and β-zeaxanthin. Analysis of data from high performance liquid chromatography showed that the extracted carotenoids contained β-carotene at a concentration of 10.14 mg/kg dried peel. There were trace amounts of arsenate (Ar), lead (Pb), copper (Cu) and no solvent was found in the extract. The results from storage stability studies showed that carotenoid concentrates and carotenoid solution in vegetable oil with antioxidant and without antioxidant stored at -18° ± 2°c gave a better stability than those stored at 4° ± 2°c and at 30° ± 2°c. The used antioxidant could not retard an decrease carotenoids of carotenoid solution during storage significantly (p > 0.05). Addition of the extract to orange juice resulted in an increase yellow and red in product color.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
หริรัตน์เสรี, สมเดือน, "การสกัดคาโรทีนอยด์จากเปลือกส้มเขียวหวาน citrus reticulata blanco" (1995). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 30369.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/30369