Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประสิทธิภาพของการฟอกเยื่อกระดาษด้วยวิธีทางชีวภาพโดย Phanerochaete chrysosporium

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Efficiency of a biological bleaching of paper pulps by Phanerochaete chrysosporium

Year (A.D.)

1995

Document Type

Thesis

First Advisor

หรรษา ปุณณะพยัคฆ์

Second Advisor

มุกดา คูหิรัญ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เทคโนโลยีชีวภาพ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1995.602

Abstract

การศึกษาการฟอกเยื่อกระดาษด้วยวิธีทางชีวภาพโดยใช้เชื้อรา Phanerochaete chrysosporium และวิธีทางเคมีโดยใช้กระบวนการ CEHH ใช้เยื่อยูคาลิปตัส ซึ่งมีค่า Kappa Number เท่ากับ 6.34 ค่า Brightness เท่ากับ 37.18% และเยื่อชานอ้อย ซึ่งมีค่า Kappa Number เท่ากับ 10.64 ค่า Brightness เท่ากับ 41.18% เป็นวัตถุดิบ เริ่มต้นโดยศึกษาถึงศึกษาภาพของการฟอกเยื่อกระดาษด้วย P. chrysosporium แล้วนำม[า]ประยุกต์ใช้ทดแทนหรือร่วมกับวิธีทางเคมี และเปรียบเทียบคุณภาพของเยื่อที่ฟอกได้ รวมทั้งศึกษาคุณภาพของน้ำเสียที่ได้หลังจากการฟอก พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการฟอกเยื่อยูคาลิปตัสและเยื่อชานอ้อย โดย P. chrysosporium มี pH เริ่มต้นที่เหมาะสมคือ 4.5 ที่อุณหภูมิ 38 ℃ โดยใช้เชื้อเริ่มต้น 1% ในสภาวะเขย่า สำหรับเยื่อยูคาลิปตัสจะได้ %Yield เท่ากับ 99.1 K.number เท่ากับ 1.84 และ Brightness เท่ากับ 69.60% สำหรับเยื่อชานอ้อยจะได้ %Yield เท่ากับ 99.6% K.number เท่ากับ 4.60 และ Brightness เท่ากับ 54.61% เมื่อทำการฟอกเยื่อกระดาษโดยเชื้อรา (F) ร่วมกับวิธีทางเคมี โดยใช้สารประกอบคลอรีนสำหรับยูคาลิปตัสพบว่า สามารถใช้กระบวนการ FHH แทนกระบวนการ CEHH ได้ดีและสำหรับเยื่อชานอ้อยสามารถใช้กระบวนการ FEHH แทนกระบวนการ CEHH ได้ดีเช่นกัน เนื่องจากคุณภาพของเยื่อ หลังแต่ละกระบวนการจะได้ใกล้เคียงกันและเมื่อศึกษากระบวนการ FEP สำหรับเยื่อยูคาลิปตัส ขั้นตอน P(ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์) (FEP2%) จะได้ค่า Brightness สูงถึง 87.37% และ%Yield เท่ากับ 99.2 สำหรับเยื่อชานอ้อยที่ FEP 4% จะได้ค่า Brightness สูงถึง 85.46% และ %Yield เท่ากับ 98.2% เมื่อศึกษาถึงคุณภาพของน้ำเสียจากกระบวนการ FEP และ CEHH พบว่าน้ำเสียจากกระบวนการ FEP ของเยื่อยูคาลิปตัส และเยื่อชานอ้อยได้ค่า COD BOD และโดยเฉพาะสีจะต่ำกว่ากระบวนการ CEHH มาก จึงสามารถใช้ FEP ซึ่งเป็นกระบวนการฟอกเยื่อที่ไม่ใช้สารประกอบคลอรีนแทนกระบวนการ CEHH ได้ดี

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Eucalyptus and bagasse soda pulps were treated with Phanerochaete chrysosporium. Optimal conditions for bleaching of these pulps were investigated. The initial optimal pH was 4.5. The suitable bleaching conditions were 38℃, 1.0% inoculum with 120 rpm. shaking for 7 days. For the Eucalyptus pulp; Brightness of the pulp increased from 37.18% to 68.60%. The yield loss was less than 1% and number 1.84 was obtained. For the bagasse pulp, the brightness increased form 41.18% to 54.61%, %yield was 99.6 and K.number 4.60 was obtained. The conbined fungal and chemical bleaching (FHH) in eucalyptus and the combined fungal and chemical bleaching (FEHH) in bagasse, gave similar result as the conventional CEHH bleaching. The combination of fungal, alkaline extraction and hydrogen peroxide bleaching with 2% H₂O₂ (P) gave the Eucalyptus pulp 87.37% brightness. The FE and hydrogen peroxide bleaching with 4% H₂O₂ gave the bagasse pulp 85.46% brightness. Yield loss of these pulps were less than 1%. The quality of wastewater form FEP of these pulps gave COD BOD Values less than a wastewater form the CEHH, The FEP also help reduce color in the wastewater. The FHH, FEHH and FEP bleaching processes could significantly reduce the use of chlorine-based chemicals and the pollution of wastewater compared to the CEHH process.

Share

COinS