Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การสำรวจสภาวะที่อยู่อาศัย ซึ่งสร้างให้ผู้ประกอบอาชีพในและรอบๆ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Survey of housing conditions built for employees in and around Mas Taput Industrial Estate, Rayong Province
Year (A.D.)
1995
Document Type
Thesis
First Advisor
มานพ พงศทัต
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เคหการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1995.19
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ประกอบอาชีพในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง การศึกษาสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการโยกย้ายถิ่นฐานของผู้ประกอบอาชีพในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยตลอดจนการศึกษาถึงปัจจัยในการเลือก ความพึงพอใจและความคาดหวังต่อที่อยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง จำนวน 314 ตัวอย่าง โดยวิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถาม ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเป็นแบบบังเอิญ (ACCIDENTAL) ตามสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละอาคาร ผลการวิจัยมีสาระสำคัญ คือ ผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ส่วนใหญ่จะเป็นที่มีอายุ ตั้งแต่ 26-30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีรายได้ตั้งแต่ 8,000-14,000 บาทต่อเดือน สถานภาพทางสังคม ยังครองความเป็นโสดมากที่สุด ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวที่เพิ่งจะเริ่มต้นชีวิตในการทำงานไม่นานนัก โดยที่ภูมิลำเนาเดิมของกลุ่มเกือบครึ่งเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในภาคตะวันออก ส่วนที่เหลือภูมิลำเนาเดิมกระจายอยู่ทุกภาค ความคาดหวังที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองนั้น มีเพียงส่วนน้อย ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุหลักคือ ระดับราคาค่าเช่าที่อยู่อาศัยในจังหวัดระยองอยู่ระหว่าง 2,000-3.000 บาทต่อเดือน ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในระดับราคาค่อนข้างถูก ประกอบกับระดับราคาของที่อยู่อาศัยในจังหวัดระยองมีระดับราคาค่อนข้างสูงเกินรายได้ประจำของกลุ่มตัวอย่าง อีกทั้งระยะเวลาในการทำการอยู่ระหว่าง 3-5 ปี เป็นส่วนมาก ซึ่งระยะเวลาทำงานดังกล่าว ยังถือว่าเป็นช่วงที่สั้น ซึ่งในอนาคตกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานแหล่งใหม่หรืออาจมีการโยกย้ายกลับถิ่นฐานเดิมก็อาจเป็นไปได้ ดังนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จึงมีความประสงค์เลือกที่จะเช่าที่อยู่อาศัยมากกว่าที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research propose is for study the remand of employee in and around Mas Taput Industrial Estate, Rayong Province, to study social, economic and move residence status condition of employee in Map Taput Industrial Estate up to resident detail and residential selection factor, pleased and expected of resident in and around Map Taput Industrial Estate, Rayong province area. Aaccidental questionnaire 314 sampler by proportion sample in each building of this research is employee in Map Taput Industrial Estate, Rayong province. Majority of employee in Map Taput Industrial Estate, Rayong province is 26 – 30 years old, who have bachelor degree, income 8,000-14,000 bath per month and their social status is single. They are adult who just start to work in short period. Around haft of them have domicile in Eastern part and remainder have domicile in every part. Minority of them hope to have own residential because resident rental rate in Rayong province rather cheap around 2,000 – 3,000 bath is principal reason. Furthermore the price of residential in Rayong rather expensive over their stable income. Otherwise their working period is short and they have trend to move their office or move back to their hometown. Therefore they desire to rent residential more than buy to be their own.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วงศ์รินทราเมธี, สุชาติ, "การสำรวจสภาวะที่อยู่อาศัย ซึ่งสร้างให้ผู้ประกอบอาชีพในและรอบๆ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง" (1995). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 30330.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/30330