Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การดูดซึมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วยสารดูดซึม ที่มีเถ้าลอยลิกไนต์เป็นองค์ประกอบ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Absorption of sulphur dioxide with absorbent containing lignite fly ash
Year (A.D.)
1995
Document Type
Thesis
First Advisor
ธราพงษ์ วิฑิตศานต์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เคมีเทคนิค
DOI
10.58837/CHULA.THE.1995.583
Abstract
เถ้าลอยลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง นำมาผลิตสารดูดซึม โดยมีส่วนประกอบของเถ้าลอย ปูนขาว และยิปซัม ในอัตราส่วนต่าง ๆ การทดลองแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นแรกการดูดซึมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วยสารดูดซึมที่ไม่ผ่านกระบวนการอื่น ๆ เพิ่มเติม มีตัวแปรที่ศึกษาคือ อัตราส่วนต่าง ๆ ของสารดูดซึม อุณหภูมิในการดูดซึม 150-300 องศาเซลเซียส อัตราการไหลก๊าซ 1.5-4.1 ลิตรต่อนาที สารดูดซึมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.57 และ 0.95 เซนติเมตร สำหรับก๊าซป้อนที่มีปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 5000 พีพีเอ็ม พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซึม คือ สารดูดซึมที่มีปริมาณแคลเซียม- ออกไซด์มากกว่า 23% อุณหภูมิในการดูดซึม 200-250 องศาเซลเซียส อัตราการไหลก๊าซ 1.5 ลิตรต่อนาที สารดูดซึมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.95 เชนติเมตร ขั้นตอนที่สอง การกระตุ้นสารดูดซึมด้วยไอน้ำ มีตัวแปรที่ทำการศึกษาในการกระตุ้นคือ สารดูดซึมที่มียิปซัมเป็นองค์ประกอบในอัตราส่วน 1, 2 และ 3 ส่วนโดยน้ำหนัก สารดูดซึมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.57 และ 0.95 เซนติเมตร เวลาในการกระตุ้นด้วยไอน้ำ 3, 4, 5, 6, 9 และ 12 นาที อุณหภูมิในการให้ไอน้ำ 100-400 องศาเซลเซียส จากนั้นนำไปใช้ในการดูดซึม พบว่า สภาวะที่เหมาะสม ในการกระตุ้นด้วยไอน้ำเพื่อใช้ในการดูดซึม คือ สารดูดซึมที่มียิปซัมเป็นองค์ประกอบมากกว่า 2 ส่วนโดยน้ำหนัก เวลาในการกระตุ้นด้วยไอน้ำ 3-6 นาที อุณหภูมิในการให้ไอน้ำ 200 องศาเซลเซียส สารดูดซึมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.95 เซนติเมตร
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Lignite fly ash from Mae Moh mine at Lumpang Province was used to produce absorbent by varying the composition of fly ash lime and gypsum. The experiments consisted of two steps. In the first step, the variable studied were temperature (150-300°c), gas velocity (1.5-4.1 liter per minute), absorbent diameter (0.57 and 0.95 cm.). For feed gas containing so 5000 ppm, the result showed that the suitable condition for absorption of SO2 was as follows : quantity of CaO more than 23% by weight., temperature of absorption 200-250°C, gas velocity 1.5 liter per minute, diameter of absorbent 0.95 cm. In the second step, the absorbent was cured by steam. The variable studied were composition of gypsum in absorbent 1, 2 and 3 part by weight, diameter of absorbent 0.57 and 0.95 cm., curing time 3, 4, 5, 6, 9 and 12 min and the feed temperature 100-400°c. The result showed that the suitable condition of steam curing absorbent for absorb so absorptions was as follows: gypsum composition in absorbent more than 2 part by weight, curing time of 3-6 min., feed steam of 200°c., and absorbent diameter of 0.95 cm.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เทียนสว่าง, พูลศักดิ์, "การดูดซึมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วยสารดูดซึม ที่มีเถ้าลอยลิกไนต์เป็นองค์ประกอบ" (1995). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 30309.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/30309