Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของความยาวของแบบสอบร่วมที่มีต่อคุณภาพ ของวิธีการเทียบมาตราเชิงเส้นตรง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effect of anchor test lengths on the quality of linear equating method

Year (A.D.)

1994

Document Type

Thesis

First Advisor

เยาวดี วิบูลย์ศรี

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิจัยการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1994.311

Abstract

การวิจัยตรั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของการเทียบมาตราเชิงเส้นตรง จากการใช้แบบสอบร่วมภายในขนาดความยาวต่างกัน 4 ขนาด คือ 10 15 20 และ 25 ข้อ โดยการเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการเทียบมาตรา (SEE) และดัชนีความแตกต่าง (C) จากการวิเคราะห์กลุ่มสอบทานผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาค ในวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง ภาคต้น ของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดขอนแก่น กลุ่มที่สอง จำนวน 2 ฉบับฉบับละ 60 ข้อ สร้างในปีการศึกษา 2532 (ฉบับ X) และ 2533 (ฉบับ Y) และแบบสอบร่วมวัดผลสัมฤทธิ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการเทียบมาตรา จำนวน 25 ข้อ ได้แบบสอบที่ใช้ในการเทียบมาตรา 2 ฉบับ คือ ฉบับ X และฉบับ Y กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีสองกลุ่ม เป็นกลุ่มตัวอย่างเทียบมาตรา เพื่อนำผลการสอบไปวิเคราะห์เทียบมาตราคะแนนของแบบสอบ จำนวน 810 คน สุ่มอย่างมีระบบให้แต่ละคนสอบแบบสอบฉบับ X หรือฉบับ Y คนละฉบับสลับกัน ได้ผู้สอบฉบับละ 405 คน และเป็นกลุ่มสอบทานผล เพื่อนำผลการสอบไปตรวจสอบคุณภาพของวิธีการเทียบมาตราเชิงเส้นตรง จำนวน 117 คน โดยให้สอบแบบสอบทั้งสองฉบับด้วยการสุ่มอย่างมีระบบ แต่ละคนสอบแบบสอบฉบับ X และฉบับ Y สลับกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนสมมูลของแบบสอบฉบับ Y น้อยกว่าคะแนนของแบบสอบฉบับ X จากการเทียบมาตราโดยใช้แบบสอบร่วมทั้ง 4 ขนาด 2. ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการเทียบมาตราเชิงเส้นตรงในแบบสอบร่วมที่ยาวกว่าให้ค่าน้อยกว่า โดยพิจารณาจากค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการใช้แบบสอบร่วม 4 ขนาด ณ ระดับคะแนนมาตราฐาน (Zᵧ) เดียวกัน 7 ระดับ 3. ค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ ที่ได้จากอัตราส่วนร้อยละของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน เมื่อใช้แบบสอบร่วมขนาด 10 15 และ 20 ข้อ เทียบกับแบบสอบร่วมขนาด 25 ข้อ ให้ค่า 86.26 89.08 และ 93.30 ตามลำดับ 4. ค่าดัชนีความแตกต่างของการเทียบมาตรา จากการใช้แบบสอบร่วม 4 ขนาด ให้ผลอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทั้งสิ้น คือ .4319 .3886 .3630 และ .3354 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research aimed to investigate the quality of linear equating when utilizing different lengths of internal anchor tests ; 10 15 20 and 25 items long. Comparison of the standard errors of equating (SEE) from shorter against longer anchor tests, and the discrepancy index ( C ) from cross validation analysis were employed to indentify the quality of equating. Two mathematics achievement tests for Matayom Suksa 2 Students, X and Y, each with 60 items, were developed by the lower secondary school cluster II in Kon Kaen. The anchor test of 25 item was developed by the researcher. By systematic random sampling, every other student in equating sample of 810 was assigned to take each test so that there were 405 students taking each test. Each of the cross validation group of 117 students, however, took both tests. The systematic random sampling was administered to each of them. The results were as follows: 1. The equivalent scores of test Y were lower than those of test X for all internal anchor test lengths. 2. Standard error of equating decreased as the number of anchor test items increased. This was considered at 7 levels of Z-score scales. 3. Relative efficiencies, when comparing the standard error of equating with anchor tests of 10 15 and 20 items against that with 25 items, were 86.26, 89.08 and 93.30 respectively. 4. Equating with every length of anchor test yielded the results that could be equally acceptable since the discrepancy indices of equating for the shortest to the longest anchor tests, .4319 .3886 .3630 and .3354 respectively, were statistically non-significantly different at .05 level.

ISBN

9745811513

Share

COinS