Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อิทธิพลของอารมณ์ชั่วขณะที่มีต่อการเปลี่ยนเจตคติ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Influence of mood on attitude change

Year (A.D.)

1995

Document Type

Thesis

First Advisor

ธีระพร อุวรรณโณ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยาพัฒนาการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1995.906

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของอารมณ์ชั่วขณะที่มีต่อการเปลี่ยนเจคติตามเงื่อนไขการทดลอง คือ 1. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางบวก ข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนัก 2. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางบวก ข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก 3. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มนาวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางลบ ข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนัก 4. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางลบ ข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก 5. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางบวก ข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนัก 6. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางบวก ข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก 7. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางลบ ข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนัก 8. บุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ อารมณ์ชั่วขณะในทางลบ ข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก ผลการวิจัยพบตามที่ทำนายว่า เมื่อบุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะก่อนนำเสนอสารโน้มน้าวใจ บุคคลที่มีอารมณ์ชั่วขณะในทางลบถูกโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญ (p<.01) และบุคคลที่มีอารมณ์ชั่วขณะในทางบวกถูกโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักได้ไม่แตกต่างกับเมื่อโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก แต่ถ้าบุคคลเกิดอารมณ์ชั่วขณะหลังนำเสนอสารโน้มน้าวใจ บุคคลที่มีอารมณ์ชั่วขณะในทางบวกถูกโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญ (p<.001) และบุคคลที่มีอารมณ์ชั่วขณะในทางลบถูกโน้มนาวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อโน้มน้าวใจด้วยสารที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this research was to study the influence of mood on attitude change under eight conditions: 1. mood before encoding, positive mood, strong argument 2. mood before encoding, positive mood, weak argument 3. mood before encoding, negative mood, strong argument 4. mood before encoding, negative mood, weak argument 5. mood after encoding, positive mood, strong argument 6. mood after encoding, positive mood, weak argument 7. mood after encoding, negative mood, strong argument 8. mood after encoding, negative mood, weak argument. The results show, as predicted, that among subjects who were induced mood before encoding, subjects in a negative mood are more persuaded by strong than by weak argument (p<.01) and subjects in a positive mood are equally persuaded by strong and by weak arguments. Among subjects who were induced mood after encoding, subjects in a positive mood are more persuaded by strong than by week argument (p<.001) and subjects in a negative mood are more persuaded by than by week argument (p<.05).

Share

COinS