Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนารูปแบบการนิเทศ ของผู้ตรวจการพยาบาลเวรบ่าย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of the supervision model of evening nurse supervisors
Year (A.D.)
1995
Document Type
Thesis
First Advisor
พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การบริหารการพยาบาล
DOI
10.58837/CHULA.THE.1995.506
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยติคือ เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลเวรบ่ายตามเทคนิคเดลฟาย และเปรียบเทียบพฤติกรรมการนิเทศในเรื่อง (1) กระบวนการนิเทศ (2) การปฏิบัติตามแผนการนิเทศ และ (3) วิธีการนิเทศ ตัวอย่างประชากรคือ ผู้ตรวจการพยาบาล เวรบ่าย 30 คน ของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ผู้ตรวจการพยาบาล 15 คน ในกลุ่มทดลองได้รับการอบรมเพื่อใช้รูปแบบการนิเทศ เครื่องมือวิจัยคือ แบบบันทึกการสังเกตการนิเทศและแบบวัดความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศของผู้ตรวจการพยาบาลเวรบ่าย การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การทดสอบค่าทีและคะแนนร้อยละ ข้อค้นพบคือ 1. ได้รูปแบบการนิเทศของผู้ตรวจการพยาบาลเวรบ่ายที่ได้พัฒนาด้วยเทคนิคเดลฟาย ให้มีพฤติกรรมการนิเทศแบบมุ่งคนและมุ่งงาน และได้รับการทดสอบแล้ว 2. กลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการนิเทศที่มุ่งคนและมุ่งงาน มีพฤติกรรมการนิเทศตามกระบวนการนิเทศ พฤติกรรมการปฏิบัติตามแผนการนิเทศ และวิธีปฏิบัติการนิเทศ สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติระดับ .05 3. ผู้ตรวจการพยาบาลเวรบ่ายในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการนิเทศตามข้อ 1 หลังการใช้รูปแบบการนิเทศการพยาบาลเวรบ่าย สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. พยาบาลประจำการที่ได้รับการนิเทศโดยกลุ่มทดลอง แสดงความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการนิเทศจากลุ่มควบคุม ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เช่นเดียวกันกับกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจ ต่อรูปแบบการนิเทศการพยาบาลเวรบ่ายในระดับมาก
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were to develop the supervision model for evening nurse supervisors using delphi technique and to compare the supervision behaviors in (1) supervision process (2) supervision implementation following supervision plan and (3) supervision methods. The sample were 30 nurse supervisors of Bhumipol Adulyadej Hospital selected by simple random technique. Fifteen nurse supervisors in experimental group were trained for implementing the model. Research tools were direct observation recording forms and supervision model satisfaction questionarire. Data were analyzed by using t-test and percentage. The major finding as follows: 1. The supervision model for evening nurse supervisors which indicating relationship and task behavioral approach has been developed by using delphi technique and has been tested. 2. Evening nurse supervisors in experimental group who used the supervision model which indicating relationship and task behavior approach performed supervising behaviors in (1) supervision process (2) supervision implementation following supervision plan and (3) supervision methods were statically higher than the control group at .05 significant level. 3. The experimental group, after using the supervision model performed all three supervision behaviors as indicated in 1, were statically higher than before using the model at .05 significant level. 4. Professional nurses who were supervised by the experimental group showed higher satisfaction than those supervised by control group at .05 significant level. And the experimental group also showed satisfaction toward the supervision model at high level as well.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ต่อประดิษฐ์, อุไรวรรณ, "การพัฒนารูปแบบการนิเทศ ของผู้ตรวจการพยาบาลเวรบ่าย" (1995). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 29461.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/29461