Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การประเมินผลนโยบายแท็กซี่เสรี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Evaluation of the taximeter policy
Year (A.D.)
1995
Document Type
Thesis
First Advisor
ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เศรษฐศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1995.60
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพตลาดทั้งก่อนและหลังการใช้นโยบายแท็กซี่เสรี โดยการศึกษานี้ได้แบ่งตลาดแท็กซี่ออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ตลาดระดับขายส่งและตลาดระดับขายปลีก ซึ่งในตลาดแต่ละระดับใช้ตัวบ่งชี้ที่แตกต่างกัน 2. เพื่อประเมินผลนโยบายแท็กซี่เสรีว่าได้สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ คือ 1. เพื่อให้ประชาชนมีรถแท็กซี่เพียงพอต่อความต้องการใช้ 2. เพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมในราคาค่าโดยสาร 3. เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพดีขึ้น ผลการศึกษาพบว่าหลังการใช้นโยบายแท็กซี่เสรีแล้ว ในตลาดระดับขายส่งมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมาก มีการแข่งขันมากขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันที่ไม่ใช่ราคา ส่วนในตลาดระดับขายปลีก มีผู้ขับขี่เข้ามาในตลาดมากขึ้น ราคาค่าโดยสารคิดตามมาตรฐานวัดที่กรมการขนส่งกำหนดฉะนั้นผู้ขับขี่จึงหันมาแข่งขันกันในด้านที่ไม่ใช่ราคา สำหรับการประเมินผลนโยบายแท็กซี่เสรีทั้ง 3 ด้าน คือ 1. เพื่อให้ประชาชนมีรถแท็กซี่เพียงพอต่อความต้องการใช้ พบว่า ประชาชนใช้เวลาในการคอยรถน้อยลงและได้รับความสะดวกมากขึ้น 2. เพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมในราคาค่าโดยสาร พบว่าประชาชนร้อยละ 53.45 ยอมรับราคาค่าโดยสารลดลง ส่วนการพิจารณาในแง่การกระจายรายได้แล้วพบว่า รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อกะของผู้ขับขี่รถแท็กซี่มิเตอร์ทุกประเภท สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร และยังสูงกว่ารายได้ต่อกะของพนักงานขับรถประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ยกเว้นรายได้สุทธิเฉลี่ยต่อกะขอผู้ขับขี่รถแท็กซี่มิเตอร์ประเภทเช่าซื้อจากนิติบุคคลขับเอง 1 กะ ไม่ได้ให้เช่าต่อที่ต่ำกว่า แต่รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อกะของผู้ขับขี่รถแท็กซี่มิเตอร์ทุกประเภทต่ำกว่ารายได้ต่อกะของพนักงานขับรถไมโครบัสซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพในสาขาบริการเหมือนกัน โดยสรุปหลังจากการใช้นโยบายแท็กซี่เสรีพบว่า ในตลาดระดับขายส่ง และตลาดระดับขายปลีกมีการแข่งขันมากขึ้น และนโยบายดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐบาล คือ ทำให้ประชาชนมีรถแท็กซี่เพียงพอต่อความต้องการให้มากขึ้น ได้รับความเป็นธรรมในราคาค่าโดยสารสูงขึ้น และได้รับบริการที่มีคุณภาพดีขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this thesis are two points. To begin with, it is aimed to study the effect of the policy on market condition. According to the study, the taxi market is categorized into two markets, the wholesaling market and the retailing one. Each market is evaluated by different indices. Secondly, it is to evaluate the achievement of taximeter policy with respect to the following conditions, 1. The supply of taximeter should be enough for the population’s demand. 2. The fairness of the price per trip. 3. The service has been improved in quality. The thesis shows that after the government implementing the taximeter policy, the number of the owner has increased in the wholesaling market and it seems to be more competitive, especially in terms of non-price competition. In case of the retailing market, the number of the driver has increased. As the price per trip is regulated by the department of land transport, so the driver tends to use a non-price competition instead of a price oriented strategy. According to the study, the effectiveness of the policy can be seen as follows: First, the supply of taximeter corresponds with its demand since the consumer spends less time to secure the service. Second, about 53.45% of total passengers agree that the fare which they have to spend becomes cheaper. Third, in terms of income distribution, average net income of taxi drivers is higher than the minimum wage and the average net income of bus drivers in Bangkok, expect for those taximeters who are leasers. The average net income of all types of taximeter driver is lower than that of micro-bus driver. It may be concluded that more competition is created in the two market and the taximeter policy has achieved all three objectives.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วงศ์ทวีทรัพย์, ศิริวรรณ, "การประเมินผลนโยบายแท็กซี่เสรี" (1995). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 29423.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/29423