Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของสารสกัดกระเทียมต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในซีรั่มและคุณภาพของตัวอสุจิในหนูแรทเพศผู้

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of garlic extract on serum testosterone level and sperm quality in adult male rats

Year (A.D.)

1995

Document Type

Thesis

First Advisor

ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล

Second Advisor

สมศักดิ์ บวรสิน

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สรีรวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1995.750

Abstract

ได้ทำการศึกษา ผลของสารสกัดกระเทียม ต่อการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และคุณภาพของตัวอสุจิ โดยป้อนสารสกัดกระเทียมแก่หนูแรทเพศผู้ขนาด 80, 160 และ 320 มก/กก. เป็นเวลา 30 วัน เจาะเลือดทุก 10 วัน เพื่อหาระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน, โคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์, เอชดีแอล และแอลดีแอล ในซีรัม และศึกษาการเคลื่อนที่ ความหนาแน่น จำนวนตัวอสุจิที่มีชีวิต ตลอดจนความสามารถในการผสมพันธุ์ โดยศึกษาถึงจำนวนการฝังตัวของตัวอ่อน และศึกษาผลของสารสกัดกระเทียม ต่อการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเซลล์ลัยดิก ในหลอดทดลอง ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดกระเทียมขนาด 160 มก/กก.สามารถลดระดับ โคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์, แอลดีแอลและ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ตลอดจนลดคุณภาพของตัวอสุจิ โดยลดระดับ โคเลสเตอรอล (50.05±4.19, 56.66± 2.97, 53.60±5.63 มก/เดซิลิตร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (60.41±4.34 มก/เดซิลิตร) ระดับไตรกลีเซอไรด์ ลดลงทุก 10 วัน ตามลำดับ (43.18±10.64>38.17±6.68>32.68±6.22 มก/เดซิลิตร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (75.00±2.15 มก/เดซิลิตร) ระดับแอลดีแอลลดลงทุก 10 วัน ตามลำดับ (6.59±0.36>5.57±1.33>5.58±1.79 มก/เดซิลิตร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เมื่อเทียบกลุ่มควบคุม (12.6±0.89 มก./เดซิลิตร) แต่ระดับเอชดีแอลจะเพิ่มขึ้นทุก 10 วันตามลำดับ (41.45±6.61<44.36±3.90<45.36±6.13 มก/เดซิลิตร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (36.41±1.45 มก/เดซิลิตร) ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงทุก 10 วัน ตามลำดับ (2098.48±+149.00 > 2006.96±109.28>1920.48±202.38 พิโคโมล/ลิตร) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (2540.59±224.58 พิโคโมล/ลิตร)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ส่วนคุณภาพของตัวอสุจิ สารสกัดกระเทียม 160 มก./กก. ทำให้จำนวนตัวอสุจิลดลง จาก 85±12.56x106 เป็น 30±11.13x106 ตัว/ปริมาตรน้ำอสุจิ 10 ไมโครลิตร และเปอร์เซ็นต์อสุจิที่มีชีวิตลดลงจาก 76% เป็น 24% ส่วนความสามารถในการผสมติด พบว่ากลุ่มที่ให้สารสกัดกระเทียม 160 มก/กก. สามารถลดจำนวนการ ฝังตัวของตัวอ่อนได้ถึง 50% และเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ให้สารสกัดกระเทียม 160 มก/กก. ร่วมกับให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน 50 ไมโครกรัม พบว่าจำนวนการฝังตัวของตัวอ่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ของกลุ่มที่ให้สารสกัดกระเทียมเพียงอย่างเดียว และพบว่า สารสกัดกระเทียมขนาด 0.125 มก. ลดการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของเซลล์ลัยดิกในหลอดทดลอง โดยลดลงจาก 91±6.21 เฟมโตโมล/100 ไมโครลิตร/ 6x105 เซลล์ เป็น 51±6.61 เฟนโตโมล/100 ไมโครลิตร/ 6x105 เซลล์

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Effects of garlic extract on testosterone secretion and sperm qualifies were studied in adult male rats. Garlic extracted by chloroform at doses of 80, 160 and 320 mg/kg were daily forced-fed to animals for 30 days. Serum cholesterol, triglyceride, LDL, HDL and testosterone levels were assayed : the density, motility, viability and fertility of sperms were studied. Testosterone secretion from mouse's Leydig's cell were conducted in vitro. The treatment at dose of 160 mg/kg decreased serum cholesterol triglyceride, LDL, testosterone levels, and sperm qualities. The dose or 160 mg/kg dramatically decreased serum cholesterol (50.05±4.19, 56.66±2.97, 53.60±5.633 mg/dl) were observed compare to that of the control group (60.41±4.34 mg/dl) ; The decrement of triglyceride found at D10>D20>D30 were 43.18±7.l4>38.17±6.68>32.78±6.22 mg/dl whereas that of the control group was 75.00±2.15 mg/dl ; serum LDL 6.59±0.36>5.75±1.33>5.58±l.79 mg/dl were different from that of the control group (12.62±0.89 mg/dl). On the other hand serum HDL relatively increased in 10 consecutive days (41.45±6.61< 44.36±3.90<45.36±6.10 mg/dl) ; Serum testosterone (2098±149.00>2006.48±l09.28 J >1920.48±202.38 pmol/L were relatively lower than that of the control group (2540.59±224.58 pmol/L). The 160 mg/kg extract reduced the sperm density from 85±12.86 to 30±11.30 x 106 cell/10 ul. In addition, the above dose minimized the sperm viability from 76 to 24% and decreased the implantation by 50% The combination of garlic extract 160 mg/kg and testosterone 50 ug restored the implantation by 3 fold compare to the treatment by sole extract. Besides, the extract at dose of 0.125 mg partly inhibited the secretion of testosterone levels from mouse's Leydig's cell.

Share

COinS