Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาเพื่อกำหนดสารที่เหมาะสมในการผลิตสารส้ม
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study for selection of suitable materials in aluminium sulfate manufacturing
Year (A.D.)
1995
Document Type
Thesis
First Advisor
วันชัย ริจิรวนิช
Second Advisor
ประแสง มงคลศิริ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมอุตสาหการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1995.882
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสารที่เหมาะสมในการผลิตสารส้ม และเพื่อหาต้นทุนการผลิตสารส้มที่กำลังการผลิตหนึ่งๆ การศึกษาจะเปรียบเทียบในเชิงเศรษฐศาสตร์, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ คุณสมบัติของสารส้ม ในเชิงเศรษฐศาสตร์เปรียบเทียบต้นทุนการผลิต จากการวิจัยพบว่าที่กำลังการผลิตต่ำๆ สารส้มที่ผลิตจากแร่บอกไซท์มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตที่กำลังการผลิตสูงๆ ทั้งนี้เพราะต้องมีการเตรียมแร่บอกไซท์ก่อนที่จะ นำไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟุริคในหม้อปฏิกรณ์ ซึ่งในส่วนนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต และการผลิตจะเกิดตะกอนเนื่องจากสารปนเปื้อนในแร่บอกไซท์ ในการผลิตจึงมีเครื่องกรองสูญญากาศ ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น ดังนั้นจะพบว่าสารส้มที่ผลิตจากแร่บอกไซท์จะมีต้นทุนการผลิตสูงที่กำลังการผลิตต่ำๆ และจะลดลงในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นที่กำลังการผลิตสูงขึ้น ส่วนสารส้มที่ผลิตจากอลูมินาไทรไฮเดรท ต้นทุนการผลิตที่กำลังการผลิตต่ำๆ จะสูง และจะลดลงในอัตราส่วนที่ลดลง สารส้มที่ผลิตจากอลูมิไทรไฮเดรทมีความบริสุทธิ์สูงกว่าสารส้มที่ผลิตจากแร่บอกไซท์และการผลิตสารส้มจากแร่บอกไซท์ให้มีความบริสุทธิ์มากๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุน สำหรับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากแร่บอกไซท์มีดังนี้ คือ ฝุ่นของแร่บอกไซท์, การผลิตต้องใช้ Boiler ทำให้อาจเป็นอัตรายได้, การผลิตให้กากตะกอนสูง และน้ำเสียที่เกิดจากผลกระบวนการผลิตจะมีกรดซัลฟุริคปนอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับกระบวนการผลิตจากอลูมินาไทรไฮเดรทมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าใช้แร่บอกไซท์ การเลือกใช้สารที่เหมาะสมในการผลิตสารส้ม พิจารณาจากระดับความบริสุทธิ์ของสารส้มถ้าเป้าหมายเพื่อจำหน่าย ให้อุตสาหกรรมที่ต้องการความบริสุทธิ์ ก็ควรเลือกใช้สารส้มผลิตจากอลูมินาไทรไฮเดรท เพราะสารส้มที่ผลิตจากแร่บอกไซท์จะมีสารปนเปื้อนสูงกว่า ซึ่งจะเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องการสารส้มที่บริสุทธิ์มาก ได้แก่ การผลิตน้ำประปา สำหรับปริมาณการผลิต ถ้าต้องการผลิตจำนวนมากการผลิตสารส้มจากแร่บอกไซท์จะคุ้มกับการลงทุนมากกว่า เพราะโครงสร้างของต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับวัตถุดิบเปลี่ยนแปลงก็จะมีผลต้นทุนการผลิตอย่างมาก และแร่บอกไซท์มีราคาต่ำกว่าอลูมินาไทรไฮเดรทมาก
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The research has the objective to study the suitable materials in aluminium sulfate manufacturing and to study cost per unit The material selection will consider in term of economics, environment and alum properties. An economics comparisons will base on the cost per unit of alum. At the low capacity the cost per unit of alum from bauxite will higher than alum from aluminathyhydrate because the alum from bauxite must be prepared to transfer to reactor and put in reaction with sulfuric acid. This will increase production cost because of the more investment on machine and equipment. Furthermore alum from bauxite will have high cost per unit at the low capacity. Cost per unit of alum from aluminathyhydrate is high due to the high material cost,. But conversion cost per unit is lower capacity compared to alum from bauxite. Alum from aluminathyhydrate have more purity than alum from bauxite. The process need high pressure boiler which may cause hazardous effect. Moreover, the sludge from bauxite and waste from process also create environment at effect from sulfuric acid. Alum from aluminathyhydrate has much side effect on environmental problem.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อัครรุ่งเรืองกุล, รักน้อย, "การศึกษาเพื่อกำหนดสารที่เหมาะสมในการผลิตสารส้ม" (1995). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 29179.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/29179