Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาต้นแบบระบบผู้เชี่ยวชาญการช่วยฟื้นฟูชีวิตทารกแรกเกิด โดยการแทนความรู้แบบกรอบ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of a newborn resuscitation expert system prototype by frame representation

Year (A.D.)

1995

Document Type

Thesis

First Advisor

บุญเสริม กิจศิริกุล

Second Advisor

จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์

Third Advisor

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1995.728

Abstract

การพัฒนาต้นแบบระบบผู้เชี่ยวชาญการช่วยฟื้นฟูชีวิตทารกแรกเกิด โดยใช้การแทนความรู้แบบกรอบ เป็นการพัฒนาต้นแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ ที่ใช้การแทนความรู้แบบกรอบ และการอนุมานความรู้จากโครงสร้างลำดับชั้นของกรอบที่ใช้ในการแทนความรู้นั้น ความรู้ที่นำมาใช้ในการพัฒนาเป็นความรู้ ที่นำมาจากเอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นฟูชีวิตทารกแรกเกิด ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนของฐานความรู้ที่ใช้การแทนความรู้แบบกรอบ ส่วนการอนุมานความรู้ในการแทนความรู้แบบกรอบ และส่วนที่ทำการติดต่อกับผู้ใช้เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยทำการพัฒนาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล รุ่น 386 DX มี RAM5 MB และใช้ระบบปฏิบัติการดอสรุ่น 5 ไมโครซอฟต์วินโดวส์ ฉบับภาษาไทยรุ่น 3.1 ทำการพัฒนาโดยใช้ตัวแปลภาษาบอร์แลนด์ซีพลัสพลัสสำหรับการทำงานบนวินโดวส์ รุ่น 3.1 โปรแกรมนี้ทำงานภายใต้ไมโครซอฟต์วินโดว์รุ่น 3.1 ขึ้นไป ผลการพัฒนาระบบพบว่าต้นแบบระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยฟื้นฟูชีวิตทารกแรกเกิด โดยใช้การแทนความรู้แบบกรอบนี้ ใช้ช่วยในการเรียนการสอนในหัวข้อเรื่องการช่วยฟื้นฟูชีวิตทารกแรกเกิดในชั้นเรียนได้ และการพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญโดยใช้การแทนความรู้แบบกรอบ สามารถทำได้ดี โดยที่มีข้อดีที่การสร้างฐานความรู้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์จะทำได้ง่าย และในส่วนของการอนุมานความรู้ในการแทนความรู้แบบกรอบนั้นใช้ซีพลัสพลัสเป็นตัวจัดการ แต่มีข้อเสียที่ผู้ใช้ไม่สามารถทำการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมความรู้ในฐานความรู้ได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The thesis presents a newborn resuscitation expert system which uses frame representation. Knowledge in the system is taken from the document used in practical training newborn resuscitation at Siriraj hospital in 1990. The system is composed of three important parts. The first part is a part of knowledge base represented by frame. The second is a part of inference engine in frame representation. The third is a part of user interface that be displayed in Thai and English. The system is developed on personal computer (IBM Compatible) 386 DX RAM 5 MB, operating system DOS version 5, Microsoft Windows Thai Edition version 3.1, developed by compiler Borland C++ for Windows version 3.1 and runs under Microsoft Windows version 3.1 up. The result of this development shows that newborn resuscitation expert system prototype by frame representation can be applied in instruction in newborn resuscitation subject and the development of an expert system by frame representation can work well. By the way we can put knowledge in knowledge base completely easily and C++ compiler will manage the part of inference engine in frame representation. The disadvantage is that user cannot add or update knowledge in knowledge base in runtime.

Share

COinS