Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบระบบท่อลมด้วยวิธีที-เมทอดแบบดัดแปรสำหรับการใช้งานในประเทศไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Modified t-method duct design for use in Thailand

Year (A.D.)

1995

Document Type

Thesis

First Advisor

เชิดพันธ์ วิทูราภรณ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิศวกรรมเครื่องกล

DOI

10.58837/CHULA.THE.1995.793

Abstract

การออกแบบระบบท่อลมโดยวิธี T-Method เป็นการออกแบบโดยการหาระบบท่อลมที่เหมาะสมต่อการใช้งานมากที่สุด โดยอาศัยสมการ Life cycle cost เป็นสมการฟังก์ชันประสงค์ที่ใช้ในการพิจารณา ทั้งนี้ในกระบวนการออกแบบจะเป็นการหาขนาดของท่อลมในระบบที่มีผลทำให้สมการนี้มีค่าต่ำที่สุด และระบบที่ได้จะต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้กำหนดจากความต้องการในการกระจายอากาศของระบบส่งลม ในงานวิจัยนี้ได้นำเอาวิธี T-Method มาปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพและ ความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยปรับปรุงสมการฟังก์ชั่นประสงค์ของวิธี T-Method เดิม ให้ครอบคลุมถึงการพิจารณาผลของการสูญเสียพลังงานเนื่องจากการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังท่อลม และพิจารณาให้ค่าก่อสร้างท่อลมต่อหน่วยพื้นที่ผิวท่อ เปลี่ยนปลงตามขนาดของท่อลมที่ใช้ตามความเป็นจริง ของงานก่อสร้างระบบท่อลมใน ประเทศไทย เมื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและประเมินผล โดยการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากการออกแบบระบบท่อลมด้วยวิธีการที่ได้พัฒนาขึ้นกับวิธีอื่น ๆ3 วิธี คือ วิธี Equal Friction, วิธี Static Regain และวิธี T-Method เดิม พบว่าภายใต้ความต้องการของระบบเดียวกัน ระบบท่อลมที่ได้รับการออกแบบด้วยวิธีที่ได้พัฒนาขึ้นให้ค่า Life cycle cost ต่ำที่สุด โดยต่ำกว่าวิธี T-Method เดิมถึง 12.0 เปอร์เซ็นต์ สำหรับท่อลมที่ใช้ในการทดสอบ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

T-Method duct design in the procedure the determine the optimum ducting system base on minimizing the system life cycle cost which is the objective function of the system. In this method duct sizes and fan sizes are selected so that the minimum system life cycle cost isassured. In addition, the resulting system will also follow on constraint conditions that are set by the air distribution requirement of the duct system. In this research we have modified this T-Method duct design to gain more efficiency and more suitabity. This is done by modifying the objective function to include the energy loss, --the heat transfer through duct wall-- | and the unit cost of duct construction which is varied by duct sizes. The results from the modified method was compared with the others method such as equal friction method, static regain method, and the existed T-Method. It is found that under the same requirement on the same duct system, The duct system designed based on the modified method give the minimum life cycle cost The reduction is as low as 12.0 percent when compared with the existed T-Method.

Share

COinS