Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ความต่อเนื่องของแก่นความในทัศนปริจเฉท
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Topic continuity in expository discourse
Year (A.D.)
1995
Document Type
Thesis
First Advisor
เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ภาษาศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1995.971
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์รูปแสดงความต่อเนื่องของแก่นความ ในทัศนปริจเฉกในตำแหน่งแก่นความ และ/หรือ ประธาน และหาค่าความต่อเนื่องของรูปแสดงแก่นความจากค่าเฉลี่ยของค่าย้อนกลับ และค่าเฉลี่ยของค่าสืบเนื่อง ของ กิวอน (1983) เพื่อดูความลดหลั่นของค่าความต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลจากความเรียงประเภทแสดงความคิดเห็นเรื่อง"ปัญหาการจราจรที่มีผลกระทบต่อนักเรียน" ของนักเรียนอายุ 16-18 ปี วิทยาลัยอาชีวะศึกษาเซนต์จอห์น 10 ความเรียง ซึ่งได้คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างจากความเรียงทั้งหมด 50 ความเรียง ผลการศึกษาพบว่ามีรูปแสดงแก่นความในทัศนปริจเฉท 7 ชนิด ได้แก่ สุญรูป สุญรูปที่มีหน่วยขยายสรรพนาม นามวลีที่ไม่มีหน่วยขยาย นามวลีที่มีหน่วยขยาย นามวลีที่มีหน่วยแสดงแก่นความ และ นามวลีที่มีหน่วยขยายและหน่วยแสดงแก่นความ รูปแสดงแก่นความเหล่านี้ มีค่าความต่อเนื่องที่ลดหลั่นกัน กล่าวคือ สุญรูป เป็นรูปแสดงแก่นความที่มีค่าความต่อเนื่องมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของค่าย้อนกลับ 1.27 ค่าเฉลี่ยของค่าสืบเนื่อง 1.6 และนามวลีที่ไม่มีหน่วยขยายเป็นรูปแสดงแก่นความที่มีค่าความต่อเนื่องน้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของค่าย้อนกลับ 10.29 ค่าเฉลี่ยของค่าสืบเนื่อง 1.5 ส่วนรูปแสดงแก่นความอีก 5 รูป มีค่าความต่อเนื่องซึ่งมีค่าเฉลี่ยของค่าย้อนกลับและค่าเฉลี่ยของค่าสืบเนื่อง ดังต่อไปนี้ สรรพนาม มีค่าเฉลี่ยของค่าย้อนกลับ 1.42 มีค่าเฉลี่ยของค่าสืบเนื่อง 2.17 สุญรูปที่มีหน่วยขยาย มีค่าเฉลี่ยของค่าย้อนกลับ 2.86 มีค่าเฉลี่ยของค่าสืบเนื่อง 1 นามวลีที่มีหน่วยขยาย และหน่วยแสดงแก่นความ มีค่าเฉลี่ยของค่าย้อนกลับ 5.83 มีค่าเฉลี่ยของค่าสืบเนื่อง 2 นามวลีที่มีหน่วยขยาย มีค่าเฉลี่ยของค่าย้อนกลับ 7.75 มีค่าเฉลี่ยของค่าสืบเนื่อง 1.5 และ นามวลีที่มีหน่วยแสดงแก่นความ มีค่าเฉลี่ยของค่าย้อนกลับ 8.5 มีค่าเฉลี่ยของค่าสืบเนื่อง 1.25
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This study aims at studying linguistic forms used in the coding of continuity of discourse which occur in the topic or subject position. The method proposed by Givon (1983) is used to measure the continuity of these forms. Only two values are measured: the look-back value and the persistence value. Data are 10 compositions written by vocational students on traffic problems. Seven forms are found: zero pronoun, modified zero, pronoun, unmodified noun phrase, modified noun phrase, unmodified noun phrase with topic marker and modified noun phrase with topic marker. Each has different continuity value. Zero pronoun has the greatest continuity with a look-back value of 1.27 and a persistence value of 1.6.Unmodified noun phrase has the least continuity, with a look-back value of 10.29 and a persistence value of 1.5 pronoun has a look-back value of 1.42 and a persistence value of 2.17. Modified zero has a look-back value of 2.86 and a persistence value of 1. Modified noun phrase with topic marker has a look-back value of 5.83 and a persistence value of 2. Modified noun phrase has a look-back value of 7.75 and a persistence value of 1.25. Unmodified noun phrase with topic marker has a look-back value of 8.5 and a persistence value of 1.25.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อักษรกาญจน์, อาภาภรณ์, "ความต่อเนื่องของแก่นความในทัศนปริจเฉท" (1995). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28955.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28955