Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในกรุงเทพมหานคร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study of physical fitness of mentally retarded students in Bangkok Metropolis
Year (A.D.)
1995
Document Type
Thesis
First Advisor
ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
พลศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1995.249
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง และระหว่างกลุ่มอายุของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาขั้นเล็กน้อย และขั้นปานกลางของเฟธ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่มีอายุระหว่าง 9-20 ปี มีระดับเชาวน์ปัญญา 50-70 ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 503 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที" และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในกรุงเทพมหานคร โดยส่วนรวม มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับต่ำ 2. สมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระหว่างเพศชายกับเพศหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกรายการทดสอบ ยกเว้นรายการทดสอบการทรงตัวแบบอยู่กับที่ ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. สมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่มีความบกพร่องสติปัญญา ระหว่างกลุ่มอายุไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research were to study and to compare the physical fitness of mentally retarded students in Bangkok Metropolis. The research instrument was the Fait’s physical fitness test for mildly and moderately retarded students. The population were 503 students, 9-20 years of age and had intelligence quotient between 50-70. The data were analyzed to obtain means, standard deviations. One way analysis of variance, the t-test and the Scheffe’ test were also employed to determine the significant difference at the .05 level. Findings were as follows: 1. The mentally retarded students’ physical fitness were in low level. 2. Physical fitness of mentally retarded students between male and female students in all items, excepts static balance item, were significantly different at the .05 level. 3. Physical fitness of mentally retarded students among age groups were not significantly different at the .05 level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โฉมยงค์, จิราพร, "การศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในกรุงเทพมหานคร" (1995). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28912.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28912