Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมชนิดดูเชน/เบกเกอร์ในผู้ป่วยไทยโดยพอลิเมอเรสเชนรีแอกชัน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Polymerase chain reaction for diagnosis of Duchenne/Becker muscular dystrophy in Thai patients

Year (A.D.)

1995

Document Type

Thesis

First Advisor

พรรณี ชิโนรักษ์

Second Advisor

มหัทธนา กมลศิลป์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พฤกษศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1995.674

Abstract

จากการศึกษาผู้ป่วยไทยด้วยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช และนอกโรงพยาบาล ได้แก่ จังหวัดหนองคาย บุรีรัมย์ ชัยนาท จำนวน 27 ราย ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2537 พบผู้ป่วยเด็กชายไทยจำนวน 16 ราย เป็นโรคกล้ามเนื้อเสื่อมชนิดดูเซน/เบกเกอร์ ซึ่งโรคนี้มีการถ่ายทอดแบบยีนด้อยบนโครโมโซมเอ็กซ์ (X-linked recessive inheritance) เรียกยีนนี้ว่ายีสดิสโทรฟิน ในผู้ป่วย 16 รายนี้ พบ 8 ราย มีการขาดหายไปของยีนดิสโทรฟิน ซึ่งผู้ป่วย 4 ราย มีการขาดหายไปของยีนบริเวณส่วนกลางรอบเอกซอนที่ 49 (43-52) ผู้ป่วย 2 ราย มีการขาดหายไปของยีนบริเวณส่วนตัน (Pm, exon 3, 6, 13) และผู้ป่วยอีก 2 ราย มีการขาดหายไปของยีนทั้ง 2 บริเวณ ซึ่งทั้ง 2 รายนี้เป็นพี่น้องกัน การศึกษาการขาดหายไปของยีสดิสโทรฟินใช้เทคนิคพอลิเมอเรสเซนรีแอกชัน ชนิดมัลติเพลกซ์ (Multiplex polymerase chain reaction : PCR) โดยการเพิ่มปริมาณยีสดิสโทรฟินของผู้ป่วย ที่บริเวณที่พบการขาดหายไปของยีนได้บ่อย (hot spot region) คือ บริเวณ 5’terminus และบริเวณเอกซอน 45-52 ด้วย primer 10 คู่ การทดลองนี้ใช้ปฏิกิริยาพีซีอาร์ 2 ปฏิกิริยา และมีการตรวจสอบความถูกต้องของปฏิกิริยาด้วยการเพิ่มปริมาณยีนของชายปกติเป็น positive control ซึ่งจะต้องมีการพบยีนที่เพิ่มทั้ง 10 ตำแหน่ง และเพิ่มปริมาณของยีนในน้ำเปล่าเป็น negative control ซึ่งจะต้องไม่มีปฏิกิริยาใดเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยอีก 4 ราย เป็นโรคกล้ามเนื้อเสื่อมชนิด ลิมป์-เกอร์เดิล (Limb-girdle muscular dystrophy) ซึ่งมีการถ่ายทอดโดยยีนด้อยบนออโตโซม (autosomal recessive inheritance) และอีก 7 ราย เป็นโรคกล้ามเนื้อเสื่อมชนิด เอมเมอรี่-ดริฟฟัสส์ (Emery-Dreifuss muscular dystrophy) ซึ่งมีการถ่ายทอดโดยยีนด้อยบนโครโมโซมเอ็กซ์ แต่อยู่คนละตำแหน่งกับยีนดิสโทรฟิน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

We studied 27 Thai muscular dystrophy patients from Pramongkutklao Hospital, Siriraj Hospital and from Nongkai, Burirum, Chainart provinces during 1992-1994. It was found that 16 Duchenne/Becker muscular dystrophy male patients which this disease is an X-linked recessive inheritance. It is caused by abnormal dystrophin gene. Total 16 cases, we found 8 patients with partial intragenic deletion. Four patients have gene deletion around the exon 49 (exon 43-52), 2 patients involve region at the 5’terminus (Pm,exon 3, 6, 13) and 2 patients who are brothers have deletion in both regions. We detected gene deletion with 2 multiplex PCR by 9 exons plus the muscle promoter of the dystrophin gene. These 2 reactions involve at the hot spot regions (around 5’terminus and exon 45-53). We amplified normal male DNA as positive control and water as negative control with each set of reactions to ensure that all primer were active and had not contamination. And we found 4 limb-girdle muscular dystrophy patients that were inherited by autosomal recessive. 7 patients were Emery-Dreifuss muscular dystrophy that were inherited by the other locus of dystrophin gene on X-chromosome.

Share

COinS