Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนต่อระดับความวิตกกังวลและความสามารถ ของบิดามารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไส้เลื่อนขาหนีบ ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The effects of planned instruction on the anxiety level and caring abilities of parents of inguinal herniotomy patients

Year (A.D.)

1995

Document Type

Thesis

First Advisor

ประนอม โอทกานนท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พยาบาลศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1995.520

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนอย่างมีแบบแผนต่อระดับความวิตกกังวลและความสามารถของบิดามารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไส้เลื่อนขาหนีบที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดามารดาของผู้ป่วยเด็กที่พาบุตรมาผ่าตัดแบบไปกลับที่โรงพยาบาลเด็ก ได้ตัวอย่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนจากผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความวิตกกังวลและแบบวัดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไส้เลื่อนขาหนีบที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดหาความเที่ยงของแบบวัดความวิตกกังวลด้วยวิธีของ Cronbach ได้ค่าความเที่ยง .925 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับความวิตกกังวลและความสามารถของบิดามารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไส้เลื่อนขาหนีบที่ได้การรักษาโดยการผ่าดัดกลุ่มที่ได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนหลังการทดลองแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยระดับความวิตกกังวลลดต่ำลง ส่วนความสามารถในการดูแลสูงขึ้น 2. ระดับความวิตกกังวลและความสามารถของบิดามารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไส้เลื่อนขาหนีบที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดหลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยระดับความวิตกกังวลลดต่ำลง ส่วนความสามารถในการดูแลสูงขึ้น 3. ระดับความวิตกกังวลและความสามารถของบิดามารดาในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไส้เลื่อนขาหนีบที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด หลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนแตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มที่ได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนมีระดับความวิตกกังวลน้อยกว่าและมีความสามารถในการดูแลสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ การทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการสอนอย่างมีแบบแผนช่วยลดความวิตกกังวลและช่วยเพิ่มความสามารถใน การดูแลของบิดามารดาผู้ป่วยเด็กโรคไส้เลื่อนขาหนีบที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this experimental research was to identify the effects of planned instruction on the anxiety level and caring abilities of parents of inguinal herniotomy patients. The research sample consisted of 30 parents of ambulatory inguinal herniotomy patients at the Children’s Hospital. The planned instruction was assigned for the experimental group. The ordinary teaching was assigned for the control group. The instruments were the State-Trait Anxiety Inventory Form X-l, the caring abilities scale and the planned instruction all of which were developed by the researcher. The reliability of the anxiety tool was .925. The major findings were as follows :- 1. There were statistically significant difference at .01 level of anxiety and caring abilities between before and after experiment of parents of inguinal herniotomy patients who had been taught by the planned instruction. The anxiety level after experiment was less than before experiment, while the caring abilities after experiment were more than before experiment. 2. There were statistically significant difference at .01 level of anxiety and caring abilities between before and after experiment of parents of inguinal herniotomy patients who had been taught by ordinary teaching. The anxiety level after experiment was less than before experiment, while the caring abilities after experiment were more than before experiment. 3. There were statistically significant difference at .01 level of anxiety and caring abilities after experiment between the parents who had been taught by the planned instruction and by ordinary teaching. The parents who had been taught by the planned instruction had less level of anxiety, and more caring abilities than the other group. This experiment revealed that the planned instruction can be used to decrease anxiety level and to increase caring abilities of parents of inguinal herniotomy patients effectively

Share

COinS