Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อม ในการทำงานกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Relationships between personal factors, work environment and self-directed learning readiness of staff nurses in governmental hospitals, Bangkok Metropolis

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การบริหารการพยาบาล

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.1095

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองพยาบาลประจำการ จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน สถานภาพสมรส และสังกัด หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลประจำการ และศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวทำนายความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร จำนวน 470 คน โดยการสุ่มแบบระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีค่าความเที่ยง 0.94 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลประจำการโดยรวม และด้านการเปิดโอกาสตนเองในการเรียนรู้ ด้านการมองอนาคตในแง่ดี ด้านความรักในการเรียนรู้ และด้านความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านมโนมติของตนเองในการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านความสามารถใช้ทักษะทางการศึกษาหาความรู้ และด้านความคิดริเริ่มและอิสระในการเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง 2. พยาบาลประจำการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความพร้อมในการเรียนรู้ตัวตนเองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพยาบาลประจำการที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีค่าเฉลี่ยความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพยาบาลประจำการที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ส่วนพยาบาลประจำการที่มีอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน สถานภาพสมรส และสังกัด แตกต่างกัน มีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่แตกต่างกัน 3. ระดับการศึกษาและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .16 และ .46 ตามลำดับ) ส่วน อายุประสบการณ์ในการทำงาน และสถานภาพสมสร ไม่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลประจำการ 4. ตัวแปรที่ร่วมกันทำนายความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลประจำการ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ สภาพแวดล้อมทางจิตใจด้านความต้องการพัฒนาตนเอง ด้านความมีอิสระในการทำงาน สภาพแวดล้อมทางสังคมด้านการสนับสนุน ด้านสัมพันธภาพ และระดับการศึกษา สามารถร่วมกันทำนายความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลประจำการได้ร้อยละ 43.96 ได้ สมการทำนายดังต่อไปนี้ Z = .5906 SELF + .2025 AUTO + .2021 SUPP + .1405 RELA + .0693 EDU

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this study were to study the self-directed learning readiness of staff nurses in governmental hospitals, Bangkok Metropolis, to compare self-directed learning readiness classified by age, education, experience, marital status and organizations and to investigate the relationships between personal factors and work environment with self-directed learning readiness of staff nurses, and to determine variables which predict self-directed learning readiness of staff nurses. The samples consisted of 470 staff nurses working in governmental hospitals, Bangkok Metropolis, selected by systematic random sampling technique. The research instruments developed by the researcher were work environment and self-directed learning readiness questionnaires. The reliability of the two questionnairs were 0.94 and 0.96 consecutively. The data was analyzed by using stepwise multiple regression analysis. The major findings were as follows : 1. Overall scores of self-directed learning readiness, and only of the items on openness to learning opportunities, positive orientation to the future, love of learning and informed acceptance of responsibity for one’s own learning of staff nurses were at high level. Other aspects as of self concept as an effective learner, creativity, ability to use basis study skills and problem solving skills, and initiative and independence in learning were at moderate level. 2. There was statistically significant different at the .05 between the mean score of self-directed learning readiness and education background. The mean scores of those with higher degree background was higher than those with bachelor level. However, there was no significant different at the .05 when classified by age, experience, marital status and organizations. 3. There were positively significant relationships between education, work environment and self-directed learning readiness of staff nurses (r=.16 and .46 respectively) at .05 level. There were no significant relationship between age, experience, marital status and self-directed learning readiness of staff nurses. 4. The variables that could predict self-directed learning readiness of staff nurses were self development, autonomy, support, relationship and education and their effects were significant at .05 level. The predictors accounted for 43.96 percent (R2=.4396) of the variences. The function derived from the analysis was as follows : Z = .5906 SELF + .2025 AUTO + .2021 SUPP + .1405 RELA + .0693 EDU

Share

COinS