Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของความเชื่อมั่นในตนเองและประเภทของผลย้อนกลับ ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effectis of self-confidence and types of feedback on mathematics learning achievement in computer-assisted instruction lesson of mathayom suksa one students

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

โสตทัศนศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.246

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในตนเอง และประเภทของผลย้อนกลับในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากโรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2538 จำนวน 60 คน ระดับของความเชื่อมั่นในตนเองสร้างตามแนวความคิดของ Harrison G. Gough, Alfred B. Heiibum, A.H. Maslow และ วินัย ธรรม ศิลป์ แบ่งเป็น 3 ระดับคือระดับสูง, กลาง และตํ่า ประเภทของผลย้อนกลับแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบ บอกข้อเท็จจริงและแบบให้กำลังใจ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความเชื่อมั่นในตนเองกับประเภทของผลย้อนกลับในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. ไม่มีความแตกต่างระหว่างความเชื่อมั่นในตนเองระดับสูง, ระดับกลางและระดับตํ่า ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3. ไม่มีความแตกต่างระหว่างประเภทของผลย้อนกลับแบบบอกข้อเท็จจริงและแบบให้กำลังใจต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to examine an interaction between self-confident levels and types of feedback in computer-assisted instruction lessons upon learning acheivement of Mathayom Suksa One students. Subjects were sixty students from Omnoysoponchanoopathum School in the academic year of 1995. Level of self-confident based on the ideas of Harrison G. Gough, Alfred B. Heilbum, A.H. Maslow and Winai Thumseel was categorized as high, middle and low level. Two types of feedback in computer-assisted instruction lessons were factual feedback and supportive feedback. The findings of this study could be concluded that: 1. There was no statistical significant interaction between self-confident levels and types of feedback in computer-assisted instruction lessons upon learning acheivement of mathematic subject of Mathayom Suksa One students. 2. There was no statistical significant difference between high level, middle level and low level of self-confident upon learning acheivement of students learning from computer-assisted instruction lessons. 3. There was no statistical significant difference between types of feedback: factual feedback and supportive feedback upon learning acheivement of students learning from computer- assisted instruction lessons.

Share

COinS