Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Detection of restenosis after Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty (PTCA) using the exercise treadmill test and technetium 99m-sestamibi scintigraphy
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
ความไว, ความจำเพาะ ของวิธีการออกกำลังกายโดยการวิ่งบนสายพานร่วม กับการตรวจด้วยการฉีดสาร เทคนีเซี่ยม 99 เอ็ม เซสตามีบี้ ในภาวะตีบตันซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ โคโรนารี่ ภายหลังการขยายเส้นเลือดด้วยการใช้บอลลูน
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
Chalard Somabutr
Second Advisor
Suphot Srimahachota
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Medicine
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.2358
Abstract
BACKGROUND : The detection of myocardial ischemia after percutaneous balloon coronary angioplasty (PTCA) is important because 30-50% of the patients will develop restenosis in 6 months. Symptom of chest pain and exercise stress test (EST) have been shown to be less sensitive for detection restenosis after PTCA than Thallium-201 scintigraphy, but there are few reports regarding detection restenosis by using Tc-99m MIBI. The purpose of this study is to compare the sensitivity and specificity of chest pain, EST and exercise Tc-99m MIBI with coronary angiography (CAG) in post PTCA patients. Methods : Exercise Tc-99m MIBI with SPECT imaging was performed 1, 3 and 6 months and CAG was repeated at 6 months after successful PTCA. Earlier Tc-99m MIBI scan and CAG were done if the patients had recurrent angima pectoris. RESULTS : From November 1995 to February 1997, Forty-six patients (M29, F17) who underwent successful angioplasty were prospectively enrolled. Mean age was 61.3+_19 yrs. Eighty-eight lesions (LAD 63%, LCX 34%, RCA 19%) were performed. Lesion characteristics were type A in 9%, type B in 30% and type C in 65%. Fifty-four percent of PTCA were done for single vessel disease and forty-six percent for multivessel disease. Mean duration from PTCA to follow-up CAG was 6.1+_2.7 months. We detected 58% (27/46) case-restenosis from CAG. The sensitivity and specificity of angina pain, EST and Tc-99m MIBI compared with CAG were shown in the table. The overall accuracy of Tc-99m MIBI for detection of restenosis was 80%. Angina pain (sensitivity = 39.4%, specificity = 66.7%), EST sensitivity 63.6%, specificity = 66.7, and Tc 99m-MIBI (sensitivity 85.0*% specificity 72.0%). *p<0.05 versus EST and p<0.001 versus angina pain CONCLUSION : Tc-99m MIBI with SPECT imaging is a better tool for the detection of restenosis after coronary angioplasty.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
ที่มาการศึกษา : การตรวจหาภาวะการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจภายหลังการขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน มีความสำคัญ เนื่องจาก 30-50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะเกิดการตีบตันซ้ำภายใน 6 เดือน อาการเจ็บแน่นหน้าอก และการตรวจด้วยวิธีออกกำลังกายโดยการวิ่งบนสายพาน นั้นพบว่าไม่มีความไวเพียงพอในการวินิจฉัยภาวะการตีบตันซ้ำภายหลังการขยายเส้นเลือดด้วยบอลลูน เมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธี Thallium-201 Scintigraphy สำหรับการตรวจด้วยวิธี Tc-99m MIBI เพื่อวินิจฉัยภาวะการตีบตันซ้ำนั้น พบว่ามีการศึกษากันน้อย ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบ ความไว และความจำเพาะของอาการเจ็บแน่นหน้าอก, การออกกำลังกายโดยการวิ่งบนสายพานและการตรวจ Tc-99m MIBI กับผลการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับขยายเส้นเลือดหัวใจ วิธีการศึกษา : การตรวจด้วยวิธีการออกกำลังร่วมกับการใช้สาร Tc-99m และตรวจด้วย SPECT imaging กระทำที่ 1, 3 และ 6 เดือน และฉีดสีเส้นเลือดหัวใจซ้ำที่ 6 เดือน ภายหลังการขยายเส้นเลือดหัวใจเป็นผลสำเร็จ การตรวจด้วย Tc-99m MIBI และการฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจซ้ำจะทำก่อนกำหนดเร็วขึ้น ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเกิดขึ้นอีก ผลการศึกษา : ช่วงระยะการศึกษา จาก เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 รวบรวมและศึกษาผู้ป่วยที่ขยายเส้นเลือดหัวใจเป็นผลสำเร็จ 46 คน(ชาย 29 คน, หญิง 17 คน) อายุเฉลี่ย 61.3+_19 ปี จำนวนตำแหน่งของเส้นเลือดที่ขยาย 88 ตำแหน่ง(LAD 63 เปอร์เซ็นต์, LCX 34 เปอร์เซ็นต์, RCA 19 เปอร์เซ็นต์) ลักษณะของเส้นเลือดเป็นแบบชนิด A 9 เปอร์เซ็นต์, ชนิด B 30 เปอร์เซ็นต์ การขยายเส้นเลือดหัวใจกระทำในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดตีบตันเส้นเดียว 54 เปอร์เซ็นต์ และ 46 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดตีบหลายเส้น ระยะเวลาเฉลี่ยจากการขยายเส้นเลือดถึงการฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจซ้ำ 6.1+_2.7 เดือน ผลการศึกษาพบมีการตีบตันซ้ำ 58 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ป่วย ผลความไว และ ความจำเพาะของอาการเจ็บแน่นหน้าอก, การออกกำลังโดยการวิ่งบนสายพาน และการตรวจ Tc-99m MIBI เทียบกับการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจดังตาราง ผลความถูกต้องโดยรวมของการใช้ Tc-99m MIBI ในการวินิจฉัยภาวะการตีบตันซ้ำ 80 เปอร์เซ็นต์ อาการเจ็บแน่นหน้าอก มีความไว 39.4% มีความจำพาะ 66.7% การออกกำลังโดยวิ่งบนสายพาน มีความไว 63.9% มีความจำเพาะ 66.7% Tc 99m-MIBI มีความไว 85.0*% มีความจำเพาะ 72.0% *p<0.05 เทียบกับการออกกำลังโดยการวิ่งบนสายพาน and p<0.001 เทียบกับอาการเจ็บแน่นหน้าอก สรุปผลการศึกษา : การตรวจ Tc-99m MIBI ด้วยวิธี SPECT imaging เป็นวิธีที่ดีกว่า ในการวินิจฉัยภาวะการตีบตันซ้ำภายหลังการขยายเส้นเลือดหัวใจ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Limpijankit, Thosaphol, "Detection of restenosis after Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty (PTCA) using the exercise treadmill test and technetium 99m-sestamibi scintigraphy" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28469.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28469