Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Nakhon Si Thammarat female court dance
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
สุรพล วิรุฬห์รักษ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นาฏยศิลป์ไทย
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1954
Abstract
ศึกษาวิวัฒนาการ รูปแบบและองค์ประกอบละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ซึ่งองค์ประกอบในการแสดงประกอบด้วย วัตถุประสงค์ในการแสดง โอกาสที่แสดง สถานที่ในการแสดง เรื่องที่แสดง เครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี และลักษณะวิธีการรำ ผลการศึกษาได้จากการรวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสาธิตท่ารำจากผู้ที่สืบทอดท่ารำ มาจากศิลปินละครในวังเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทราบว่าละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช มีรูปแบบลักษณะและองค์ประกอบเช่นเดียวกับละครผู้หญิงของหลวง เนื่องด้วยเมืองนครศรีธรรมราชมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทางเมืองหลวง ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มตั้งแต่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หลวงนายสิทธิ หนู) ได้ถวายธิดาทำราชการในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จากนั้นจึงมีความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนด้านการแสดงกันมาโดยตลอด เมืองนครศรีธรรมราชได้ส่งการแสดงมาร่วมเฉลิมฉลองในกรุงธนบุรีด้วย นอกจากนี้ยังมีการส่งครูละคร เครื่องแต่งกายละครมายังเมืองนครศรีธรรมราช หรือเมื่อมีงานสำคัญในเมืองหลวง ละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราชได้มีโอกาสร่วมแสดงในงานนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่าละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช น่าจะมีรูปแบบองค์ประกอบเช่นเดียวกับละครผู้หญิงของหลวง โดยมีจุดมุ่งหมายในการแสดงเพื่อประดับอิสริยยศ คู่บารมีแก่เจ้าพระยานครศรีธรรมราช เพื่อรับเสด็จพระเจ้าแผ่นดิน ต้อนรับชาวต่างชาติ เพื่อความบันเทิงภายในวัง และเพื่อเฉลิมฉลองเมื่อมีงานสำคัญ เรื่องที่แสดงในชั้นแรกจะแสดง 3 เรื่องดัวยกันคือ รามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท และสันนิษฐานว่าอาจเล่นเรื่องอื่นอีกในชั้นหลัง หลักฐานด้านเครื่องแต่งกายที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน สันนิษฐานได้ว่า ละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราชแต่งกายแบบยืนเครือง พระ-นาง วงดนตรีที่ใช้ในการแสดงน่าจะเป็นวงปี่พาทย์ จากการเทียบเคียงท่ารำเพลงแม่บทใหญ่กับแม่บทเมืองนครพบว่า มีท่ารำที่เหมือนกัน 4 ท่า และจากการเทียบเคียงท่ารำเพลงแม่บทเล็กกับแม่บทเมืองนคร พบว่ามีท่ารำที่เหมือนกัน 12 ท่า สันนิษฐานว่าแม่บทใหญ่ แม่บทเล็ก และแม่บทเมืองนครน่าจะมาจากสายตระกูลเดียวกัน ละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช หมดไปพร้อมกับตำแหน่งเจ้าเมือง ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยังคงหลงเหลือหลักฐานอยู่บางส่วน ซึ่งน่าจะได้สืบค้นไว้เป็นหลักฐานของวงการนาฏยศิลป์ไทยสืบไป
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Studies the development, style and performance elements of the female dance drama of the Governors of Nakon Si Thammarat during King Taksin to King Rama V periods. The findings are gleaned from documents, interviewing, and observing the dance demonstrations of those who received the knowledge from the early period. The research finds that this dance drama is similar to that of the court of Thonburi and Bangkok of the same period, since Nakon Si Thammarat, Thonburi and Bangkok had a very close relations. The intermarriages, the exchanges of performances and dance teachers, and costumes brought about the similarity between the three places. This female dance drama indicated the prestigious status of the court of Nakon Si Thammarat. It was used to entertain very important guests, the court people, and to celebrate the auspicious occasions. The plays probably comprised Ramakien, Inao, and Unnarut : Later, other plays were added. Its costumes and music showed the similarity to those of the early Bangkok Style. Remmants of the dance confirm the similarity between the two courts since many dance gestures are nearly the same. Female dance drama of Nakon Si Thammarat disappeared with the elimination of the court of Nakon Si Thammarat during King Rama V. However, some materials are still remain for researching as one of the historical records in Thai dance
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วัยวัฒน์, สะวรรณยา, "ละครผู้หญิงของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28388.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28388