Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปรียบเทียบความเข้าใจในเรื่องความเชื่อที่ผิด ในเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน โดยการให้เหตุผลย้อนหลังในการอธิบายพฤติกรรม และการทำนายพฤติกรรม
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A comparison of preschool children's understanding of false belief by backward explanation and prediction
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยาพัฒนาการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1942
Abstract
การวิจัยครังนมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเข้าใจความเชื่อที่ผิด โดยการให้เหตุผลย้อนหลังในการอธิบายพฤติกรรมและการทำนายพฤติกรรมในเด็กไทยที่มีอายุ 3-5 ปีและเพื่อศึกษาพัฒนาการความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเชื่อที่ผิดของเด็กวัยนี้ การวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 120 คน เพศชาย 60 คน และเพศหญิง 60 คน อายุระหว่าง 3-5 ปี โดยดัดแปลงเนื้อเรื่องที่ใช้ในการทดสอบมาจากการศึกษาของ Robinson &. Mitchell (1995) เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กไทย สถิติ ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน ที่ทดสอบด้วยวิธีของการให้เหตุผลย้อนหลังในการอธิบายพฤติกรรม สามารถตอบคำถามได้ถูกต้องมากกว่าเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนที่ทดสอบด้วยวิธีการทำนายพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนที่มีอายุมากกว่า สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับ ความเชื่อที่ผิดได้ถูกต้องมากกว่าเด็กที่มีอายุน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในการทดสอบด้วยวิธีการให้เหตุผลย้อนหลังในการอธิบายพฤติกรรมและวิธีการทำนายพฤติกรรม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this thesis was to compare children’s understanding of false belief with a backward explanation condition and a prediction condition and to study the development and understanding of false belief among 60 boys and 60 girls of 3 different age groups, ranging from 3-5 years old. The task devised by Robinson &. Mitchell (1995) was modified to make it| culturally appropriate for Thai children and was used as an Assessment instrument for this study. Two-way analysis of variance was utilizeed for statistical analysis. The results of this research were as follows : 1. Children in the backward explanation condition demonstrated a significantly better performance in their understanding of false belief than their counterpart in the prediction condition
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ชัชชวลิตสกุล, วิไลรัตน์, "การเปรียบเทียบความเข้าใจในเรื่องความเชื่อที่ผิด ในเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน โดยการให้เหตุผลย้อนหลังในการอธิบายพฤติกรรม และการทำนายพฤติกรรม" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28340.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28340