Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุ ด้านความพยายามและด้านกลวิธี ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of effort and strategy attributional feedback on self-efficacy and achievement in mathematics of Prathom suksa six students
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
คัดนางค์ มณีศรี
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยาการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.309
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านความพยายาม และด้านกลวิธีที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีปัญหาทางการเรียนคณิตศาสตร์ในเรื่องการหาร จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านกลวิธี กลุ่มที่ 2 ได้ข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านความพยายาม และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้รับการทดลองที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านความพยายาม ผู้รับการทดลองที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านกลวิธี และผู้รับการทดลองที่ไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกัน 2. ผู้รับการทดลองที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านกลวิธี มีการรับรู้ความสามารถของตน สูงกว่า ผู้รับการทดลองที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุด้านความพยายามและผู้รับการทดลองที่ไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study effects of effort and strategy attributional feedback on self – efficacy and achievement in mathematics of Prathom suksa six students. Subjects were 60 students who lacked division skills from Prathom suksa six. They were divided into 3 groups. The first group was received strategy attributional feedback. The second group was received effort attributional feedback. The third group did not receive attributional feedback. Results showed that 1. There is no statistically significant difference in math achievement scores among subjects who received effort attributional feedback, strategy attributional feedback and those who did not receive attributional feedback. 2. Subjects who received strategy attributional feedback had higher level of self – efficacy than those who received effort attributional feedback and those who did not receive attributional feedback.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บุญวัน, สุภาพร, "ผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงการอนุมานสาเหตุ ด้านความพยายามและด้านกลวิธี ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28335.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28335