Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มต่อการเพิ่มพฤติกรรมการช่วยเหลือ ทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effect of group counseling on increasing nursing caring behavior of first-year nursing students
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
โสรีช์ โพธิแก้ว
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยาการปรึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1937
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มต่อการเพิ่มพฤติกรรมการช่วยเหลือทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นราธิวาส ซึ่งสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 16 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 8 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ตามแนวคิดของโอลเซน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลอง ส่วนกลุ่มควบคุมซึ่งมีจำนวน 8 คน ไม่ได้รับเงื่อนไขใดใด งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบ ABF (ABF Control Group Design ทดสอบก่อนการทดลอง ขณะทดลองและติดตามผล โดยแบ่งเป็นระยะข้อมูลเส้นฐาน (A) ระยะเพิ่มพฤติกรรม (B) ระยะติดตามผล (F) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมการช่วยเหลือทางการพยาบาลตามแบบช่วงเวลา การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และเมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจึงเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของตูกี้ (Tukey) และทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.พฤติกรรมการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพิ่มขึ้นสูงกว่าพฤติกรรมการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ทั้งในระยะเพิ่มพฤติกรรม และในระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มในระยะเพิ่มพฤติกรรมและระยะติดตามผลเพิ่มขึ้นสูงกว่าพฤติกรรมการช่วยเหลือในระยะข้อมูลเส้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.พฤติกรรมการช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มในระยะเพิ่มพฤติกรรม และในระยะติดตามผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study the effect of group counseling on increasing caring behavior of the first-year nursing students. The subjects were 16 first-year nursing students from Boromrajchonnee Narathiwat Nursing College who volunteered to participate in the experiment. The experimental group attended Ohlsen group counseling for two hours, twice a week, during the period of 5 weeks which made approximately 20 hours. The control group was given no condition. This research used the ABF control groups design. Data were collected through the time interval observation of nursing caring behavior. The data were analyzed by the analysis of variance with repeated measures. When significant differences were found, either Tukey method or t-test method was used to analyze the differences between the pairs. Results showed that 1. Caring behavior of the nursing students who received group counseling increased significantly higher than those in the control group at .05 level. 2. Caring behavior of the nursing students attended group counseling during the treatment and the follow up phase increased significantly higher than those during the baseline phase at the .05 level. 3. Caring behavior in the treatment phase and the follow up phase of the experimental group had no significant differences at the .05 level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศิลปรัศมี, วินีกาญจน์, "ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มต่อการเพิ่มพฤติกรรมการช่วยเหลือ ทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28329.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28329