Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
มาตรการการลงโทษทางเศรษฐกิจ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีมาตรการการลงโทษทางเศรษฐกิจ เพื่อยุตินโยบายแยกผิวในแอฟริกาใต้ (ค.ศ.1985-1993)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Economic sanctions in international relations : a case study of economic sanctions against South Africa's apartheid
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
สมพงศ์ ชูมาก
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.1256
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จของมาตรการการลงโทษทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยอาศัยกรณีมาตรการการลงโทษทางเศรษฐกิจ เพื่อยุตินโยบายแยกผิวในแอฟริกาใต้ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985-1993 เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า การปรับการใช้มาตรการการลงโทษทางเศรษฐกิจหลายมาตรการ โดยเฉพาะมาตรการด้านการระงับการติดต่อทางการเงิน การธนาคารและการลงทุนของนานาประเทศได้สร้างความเสียหายแก่ภาคเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้อย่างมาก มาตรการดังกล่าวนับได้ว่าเป็นปัจจัยที่ทรงอำนาจอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลายประการ และท้ายที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองคือการยุตินโยบายแยกผิวได้สำเร็จ อย่างไรก็ดี พบว่ายังมีปัจจัยร่วมและปัจจัยสนับสนุนหลายประการที่สนับสนุนอย่างสำคัญและโดยตรงต่อความสำเร็จของมาตรการการลงโทษทางเศรษฐกิจครั้งนี้ ซึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านการมองการณ์ไกลของผู้นำผิวขาวของแอฟริกาใต้ ปัจจัยการสิ้นสุดของสงครามเย็น ปัจจัยเกี่ยวกับกระแสการรณรงค์เรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัจจัยเกี่ยวกับการปฏิบัติการต่อต้านของเยาวชนและนักศึกษา และปัจจัยเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ตกต่ำเลวร้ายลงทุกขณะในแอฟริกาใต้ นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่า ความสำเร็จและประสิทธิผลของมาตรการการลงโทษทางเศรษฐกิจครั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศคู่ค้าหลักของแอฟริกาใต้ นั่นคือ สหรัฐอเมริกาและประชาคมยุโรป
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of thesis is to study various factors affecting the success of economic sanctions by using the economic sanctions against South Africa’s apartheid during 1985-1993 as a case study. The study found that many coercive measures, especially the banning of finance, banking and investment, caused great damages to South Africa’s economy. These measures were the main factors that could force South African government to terminate its apartheid. However, there are some other contributory factors which were very helpful to the success of economic sanctions. These factors are : a good vision of a white leader of South Africa; the end of cold war; the international human right campaign; the responsive actions of youths and students; the economic decline and deteriorating social conditions of South Africa. It is also found that international cooperation in these economic sanctions were very strong, especially the cooperation of South Africa’s main trading partners : the United States of America and the European community
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กอวัฒนา, มรกต, "มาตรการการลงโทษทางเศรษฐกิจ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีมาตรการการลงโทษทางเศรษฐกิจ เพื่อยุตินโยบายแยกผิวในแอฟริกาใต้ (ค.ศ.1985-1993)" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28294.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28294