Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ผ่านสื่อนวนิยายและสื่อละครโทรทัศน์เรื่อง "สี่แผ่นดิน"

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A comparative study of cultural transmission through the novel and television drama "Si-Pandin"

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

อวยพร พานิช

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การสื่อสารมวลชน

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.764

Abstract

ศึกษาสำรวจรูปแบบ และเนื้อหาวัฒนธรรมไทยที่ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อนวนิยาย และสื่อละครโทรทัศน์เรื่อง สี่แผ่นดิน และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะการเชื่อมโยงรูปแบบ และเนื้อหาวัฒนธรรมไทยในสื่อละครโทรทัศน์ ด้วยการเปรียบเทียบกับสื่อนวนิยาย โดยอาศัยแนวคิดเรื่องการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดวัฒนธรรม แนวคิดเรื่องสื่อส่องทางให้แก่กัน แนวคิดเรื่องการเชื่อมโยงเนื้อหาและแนวคิด เรื่องการดัดแปลงสื่อนวนิยายมาเป็นสื่อละครโทรทัศน์ เพื่อการแสดงมาช่วยในการวิเคราะห์ต่าง ๆในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทำการศึกษาทั้งจากแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคลโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลต่าง ๆ แหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสารที่ใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูล อ้างอิงหลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่าง ๆ และเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นเทปบันทึกภาพละคร สี่แผ่นดิน จำนวน 85 ตอน ใช้ในการเปรียบเทียบเนื้อหา และรูปแบบวัฒนธรรมระหว่างสื่อนวนิยาย และละครโทรทัศน์ตามเกณฑ์การวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้เป็นกรอบในการศึกษา พบว่าในสื่อนวนิยายที่นำมาผลิตเป็นสื่อละครโทรทัศน์ สามารถคงรูปแบบและเนื้อหาวัฒนธรรมทั้งแปดหมวดหลักตามที่กำหนดไว้ แต่วัฒนธรรมย่อยที่ปรากฏในแต่ละหมวดหลัก มีความแตกต่างกันในบางวัฒนธรรมย่อยในลักษณะการคงเดิม การเพิ่มขึ้น การลดลง อันเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ทางด้านการผลิต เช่น งบประมาณในการผลิตสูง สถานที่ที่จะใช้ถ่ายทำเป็นเขตหวงห้ามทางราชการ การขาดแคลนวัตถุดิบส่วนต่างๆ ในการผลิต เช่น อุปกรณ์ประกอบฉาก เครื่องแต่งกาย ฯลฯ รวมถึงธรรมชาติของสื่อที่เป็นตัวกำหนดสำคัญ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันของการถ่ายทอดวัฒนธรรมในสื่อนวนิยาย และสื่อละครโทรทัศน์

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this research were to study what form and content of Thai Culture which was transmitted and how differences of culture transmission through the novel and television drama "Si-Pandin" with an analyzed and comparative study. The concept and theoretical framework of the reproduction for culture transmission, the mutual illumination of the media, intertextuality and the adaption methodology from the novel to be the television drama were used for analyzing text and forms of Thai culture. In addition, this research also included the study of an interviewing of personel source and search from documentary source and seeing video tape "Si-Pandin" which was broadcasted on television for 85 chapters. The research found that the novel and television drama was able to maintain all 8 main cultures, however, some sub-cultures in each main culture have been adapted in both of an increased and decreased content because of production factors (props/costumes) including the nature of media. All production factors have an influence to the difference of culture transmission in the novel and television drama "Si-Pandin".

Share

COinS