Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์ความตรงลู่เข้าของการวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีการอ้างอิงสรุป

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

An analysis of convergent validity for a mathematics achievement measurement based on generalizability theory

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

ศิริชัย กาญจนวาสี

Second Advisor

ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์

Third Advisor

ชูศักดิ์ ขัมภลิขิต

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

การวัดและประเมินผลการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.162

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความตรงลู่เข้าของการวัดผลสมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีการอ้างอิงสรุป ด้วยการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความตรงลู่เข้าจากสูตรที่พัฒนา ตามทฤษฎีนี้ในองค์ประกอบของข้อกระทงและวิธีวัด และทำการตรวจสอบความตรงข้ามกลุ่มจากกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ศึกษาและกลุ่มตัวอย่างสอบทานผล ที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 186 คน และ 183 คน ตามลำดับ ใช้โปรแกรม GENOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อค้นพบมีดังต่อไปนี้ 1. ผลการเปรียบเทียบความตรงลู่เข้า ปรากฏว่า 1.1 ความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบสอบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบกับ แบบสอบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเดิมคำตอบ สูงกว่าความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบสอบผลสมฤทธิ์ ทางการเรียนแบบเลือกตอบกับแบบประเมินผลสมฤทธิ์ทางการเรียน 1.2 ความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบสอบผดสมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบกับ แบบสอบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเติมคำตอบ สูงกว่าความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบสอบผลสมฤทธิ์ ทางการเรียนแบบเดิมคำตอบกับแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.3 ความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบสอบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบกับ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่ำกว่าความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนแบบเลือกตอบ แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเติมคำตอบและแบบประเมินผลสมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ผลการตรวจสอบความตรงข้ามกลุ่ม ปรากฏว่า 2.1 ความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเดิมคำตอบ และแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่มีความแตกต่างกัน 2.2 ความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบสอบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ กับแบบสอบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเติมคำตอบ มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 2.3 ความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับแบบสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ ไม่มีความแตกต่างกัน 2.4 ความตรงลู่เข้าระหว่างวิธีวัดด้วยแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเติมคำตอบกับแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่มีความแตกต่างกัน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to analyze the convergent validity for mathematics achievement measurement based on generalizability theory by analyzing and comparing the convergent validity from the formula that developed from this theory in the facets of item and method and followed by cross-validation study. Samples were Prathom Suksa 6 students divided into 2 groups. The sample group and the verified group consisted of 186 students and 183 students respectively. Data were analyzed by GENOVA program. The results were the followings: 1. The results of comparing the convergent validity 1.1 The convergent validity for multiple choice method and completion method was higher than the convergent validity for multiple choice method and rating scale method. 1.2 The convergent validity for multiple choice method and completion method was higher than the convergent validity for completion method and rating scale method. 1.3 The convergent validity for multiple choice method and rating scale method was lower than the convergent validity for multiple choice method, completion method, and rating scale method. 2. The results of cross-validation study 2.1 The convergent validity for multiple choice method, completion method and rating scale method were not different. 2.2 The convergent validity for multiple choice method and completion method were significantly different at .01 level. 2.3 The convergent validity for multiple choice method and rating scale method were not different. 2.4 The convergent validity for completion method and rating scale method were not different.

Share

COinS