Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้ง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Exposure to election information of the people in Bangkok constituency
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
ธนวดี บุญลือ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การประชาสัมพันธ์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.718
Abstract
การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทั่วไป (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งจากสื่อมวลชน กับระดับความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 390 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพื่ออธิบายข้อมูลส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่างและทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้ง และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งจากสื่อมวลชน กับความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มอายุ 26-30 ปี และ 31-40 ปี เปิดรับข่าวสารมาก และกลุ่มอายุ 18-25 ปี เปิดรับข่าวสารน้อย 2. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้งทางสื่อโทรทัศน์มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ต่ำมาก (r = 0.11)
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The main purpose of this research is to investigate level of exposure to election information of the people in Bangkok ; to identify correlation between demographic profile and people’s exposure to general information ; and exposure to election information ; and to study the correlation between the exposure to election information and knowledge of the election. A sample size of 390 Bangkok residents aged 18 years and over were interviewed. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, t-test, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and ANOVA through SPSS’ Fw. The results of this study indicated that : 1. The people in Bangkok with different ages were different from one of another in terms of their frequencies and time spent on their exposure to election information. 2. A significant positive correlation was found between the exposure to election information from television and level of knowledge.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ลิสุวรรณ์กุล, วราณี, "พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเลือกตั้ง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28026.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28026