Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
มิติที่หยุดนิ่งและมิติที่เคลื่อนไหวในพัฒนาการภาพยนตร์ไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Static and dymanic dimensions of the development of Thai movies
Year (A.D.)
1996
Document Type
Thesis
First Advisor
กาญจนา แก้วเทพ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การประชาสัมพันธ์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1996.710
Abstract
ในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อถกเถียงกันว่าพัฒนาการของภาพยนตร์ไทยที่มีอายุมาถึง 73 ปีนั้น มีลักษณะที่หยุดนิ่งอยู่กับที่หรือกำลังเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างมีคุณภาพกันแน่ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการวิจัยครั้งนี้ขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคล 4 กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับวงการภาพยนตร์ไทยซึ่งได้แก่กลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์ กลุ่มอาจารย์ด้านภาพยนตร์ กลุ่มนักวิจารณ์ภาพยนตร์และกลุ่มผู้ชมภาพยนตร์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของการพัฒนาพัฒนาการภาพยนตร์ไทยที่ หยุดนิ่งและที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงซึ่งมีเหตุมาจากปัจจัยภายในวงการภาพยนตร์และปัจจัยภายนอก วงการภาพยนตร์ เพื่อวินิจฉัยหาสภาพความเป็นจริงของวงการภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน ผลการวิจัยปรากฏว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวของกับพัฒนาการของภาพยนตร์ไทยอยู่ 10 ปัจจัย ซึ่งได้ แก่ ปัจจัยภายใน 6 ปัจจัยคือ เงินทุน บุคลากรที่อยู่เบื้องหลังนักแสดง เทคนิคและกลวิธีการนำเสนอ ความเป็น“น้ำเน่า"ด้านเนื้อเรื่องและหลักการทำงานเพื่อเงินและความอยู่รอด ปัจจัยภายนอก 4 ปัจจัย คือ การเขามาของภาพยนตร์ต่างประเทศ การใช้หลักการตลาดในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ภาวะ เศรษฐกิจของประเทศในแต่ละช่วงเวลาและแนวคิดเรื่องการมีสังคมเดียวกัน ระบบความคิดเดียวกัน ระหว่างผู้กำกับภาพยนตร์และผู้ชมภาพยนตร์ ปัจจัยภายในวงการภาพยนตร์ทั้ง 6 ปัจจัย ส่วนใหญ่มีผล ทำให้พัฒนาการของภาพยนตร์ไทยหยุดนิ่ง โดยเฉพาะปัจจัยในเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งได้แก่ ปัจจัยใน เรื่องของผู้กำกับภาพยนตร์ บุคลากรเบื้องหลังและนักแสดง ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยภายนอกวงการ ภาพยนตร์กลับส่งผลให้วงการภาพยนตร์ไทยสามารถเคลื่อนไหวอยู่รอดต่อไปได้ หากทว่าไม่สามารถ จะส่งผลให้มีการพัฒนาคุณภาพของภาพยนตร์ไทยมากขึ้น สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขในปัจจัยต่างๆ จะต้องกระทำโดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวง การภาพยนตร์ 3 ส่วนซึ่งได้แก่ 1. การเพิ่มความสำนึกและความสามารถของบุคลากรในวงการภาพยนตร์ 2. การแก้ไขในส่วนผู้ชมภาพยนตร์และ 3. นโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากรัฐบาลไทย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of the research was to study the evolution of the development of Thai film industry, to explore factors affecting the development which were assigned to be internal and external filming industry, and to analyze the situation of modem Thai film industry. The study used in-depth interview with film directors, professors, critics and audience. It was found from the research that the 10 factors involved in the development of Thai film were classified to be six internal factors which includes budget, production crew staff, actors and actresses, presentation technique, the plot, and the survival of the producers. Four external factors were the import of foreign film, the promotion technique, country’s economic situation and the social and cultural background of the producers and the viewers. The six internal factors had effect on the slow development of Thai film industry, especially the performance of the production crews. Four external factors, on the other hand had effect on pacing up the industry, but could not raise the quality of the film. It is recommended in this study that speeding up the growth and the development of the Thai film industry must depend upon three important groups : 1. Production crew staff including actor, actress, producer, 2. Film viewer and 3. Thai government.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วีระเมธีวงศ์, ยงศักดิ์, "มิติที่หยุดนิ่งและมิติที่เคลื่อนไหวในพัฒนาการภาพยนตร์ไทย" (1996). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 28018.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/28018