Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่น Brand Name ต่างประเทศ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Factors affecting the purchasing behavior upon foreign Brand-Name fashion products

Year (A.D.)

1996

Document Type

Thesis

First Advisor

รุ่งนภา พิตรปรีชา

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การประชาสัมพันธ์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1996.709

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่น Brand Name ต่างประเทศ อันได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ และทัศนคติด้านคุณลักษณะของสินค้าแฟชั่น Brand Name ต่างประเทศ โดยได้นำปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวมาศึกษาเพื่อหาความแตกต่างและความสัมพันธ์กัน กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่น Brand Name ต่างประเทศของผู้บริโภคข้อมูลที่ได้มาจากการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีหาค่าร้อยละ การหาความแตกต่างโดยใช้สถิติทีเทสต์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยได้ผลการวิจัยดังต่อไปนี้ 1. ปัจจัยด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมได้แก่ ตัวแปรด้านเพศ อายุ และอาชีพ จะมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่น Brand Name ต่างประเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนตัวแปรด้านสถานภาพครอบครัว ระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อเดือน การเป็นเจ้าของบ้าน และการเป็นเจ้าของรถยนต์ไม่มีผลให้เกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2. ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ได้แก่การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสื่อระหว่างบุคคลก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อมากกว่าสื่ออื่น ๆ 3. ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับคุณลักษณะของสินค้าแฟชั่น Brand Name ต่างประเทศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่น Brand Name ต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research had the purpose to study the factors that affect the purchasing behavior upon foreign brand name fashion products such as the socioeconomic status, media exposure behavior, and consumers' attitude towards properties of the foreign brand name fashion products by determining the relationship of those factors and consumers' purchasing behavior. Questionnaires were randomly used to collect the data from the samples of 400 people in Bangkok. The data was analized by using percentage, t-test, one way analysis of variance, Pearson product moment correlation coefficient, and multiple regression. The results were as followed: 1. Socioeconomic status factors such as sex, age and occupation had significantly different effects on the purchasing behavior upon foreign brand name fashion products. Other factors, e.g. marital status, education level, income level, house owning and car owning did not have significantly different effects on the purchasing behavior upon foreign brand name fashion products. 2. Media exposure behavior to mass media, specialized media and interpersonal media exposure were significantly correlated with the purchasing behavior upon foreign brand name fashion products. The interpersonal media exposure affected the consumers' purchasing behavior much more than other media. 3. Consumers' attitude towards the properties of the foreign brand name fashion products were significantly correlated with the purchasing behavior upon foreign brand name fashion products.

Share

COinS